การสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนสู่คู่ธุรกิจ

สำหรับเอสซีจี ความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำเป็นประเด็นสำคัญในการดำเนินธุรกิจ อย่างยั่งยืน ดังนั้นเอสซีจีให้ความสำคัญต่อการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนสู่คู่ธุรกิจ เอสซีจีใส่ใจตั้งแต่การคัดเลือกคู่ธุรกิจที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม มีความเป็นมืออาชีพ พร้อมปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความยั่งยืนภายใต้แผนบริหารจัดการความเสี่ยง สร้างโอกาสที่เกิดขึ้นร่วมกันภายใต้ระบบการติดตาม ตรวจประเมินอย่างมีประสิทธิภาพกับเอสซีจี
เป้าหมาย
- 100% ของมูลค่าการจัดหา ผ่านประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG)
กลยุทธ์
1. คัดเลือกและตรวจประเมินคู่ธุรกิจที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
คัดเลือกคู่ธุรกิจโดยคำนึงถึงความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ธุรกิจ และศักยภาพในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน จัดการตรวจประเมินและให้การรับรองคู่ธุรกิจทุกรายเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อลดความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน
2. ประเมินความเสี่ยงและการจัดกลุ่มคู่ธุรกิจ
วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและประเมินความเสี่ยงด้านธุรกิจ ควบคู่กับด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) โดยจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของเอสซีจี และนำผลมาจัดกลุ่มคู่ธุรกิจเพื่อกำหนดกลยุทธ์และวางแผนพัฒนาคู่ธุรกิจให้สอดคล้องกับความเสี่ยง
3. พัฒนาและยกระดับศักยภาพคู่ธุรกิจสู่ความยั่งยืน
จัดทำแผนพัฒนาและยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความเสี่ยง และต่อยอดพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของคู่ธุรกิจให้พร้อมเติบโตไปกับเอสซีจี
4. สร้างความตระหนัก ความรู้ ความสามารถของพนักงาน
การบริหารจัดการ
- จัดการตรวจประเมินความเสี่ยงและให้การรับรองคู่ธุรกิจทุกรายเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยใช้กรอบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรและดำเนินการตาม “กรอบการดำเนินงานด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน เอสซีจี” ซึ่งครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) ร่วมกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย
- จัดกลุ่มคู่ธุรกิจเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคู่ธุรกิจทั่วไปลำดับที่ 1 กลุ่มคู่ธุรกิจที่มีนัยสำคัญ กลุ่มคู่ธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน และกลุ่มคู่ธุรกิจทางอ้อมรายสำคัญ
- จัดทำแผนพัฒนาและยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานของคู่ธุรกิจด้านความยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เช่น Contractor Safety Management และ SCG Transportation Safety: Sustainability Program
- จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานในกลุ่มวิชาชีพจัดหา พัสดุ และโลจิสติกส์ รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล วิธีปฏิบัติ ร่วมกับองค์กรจัดซื้อทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
- จัดให้มีคณะกรรมการดูแลการศึกษาการจัดซื้อ (Procurement Sub Academy Steering Committee) เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล วิธีปฏิบัติ ร่วมกับองค์กรจัดซื้อทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งงานจัดหาและการพัฒนาคู่ธุรกิจสู่ความยั่งยืน เพื่อให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเป้าหมาย
การประเมินความเสี่ยง และจัดกลุ่มคู่ธุรกิจ
เอสซีจีจัดการประเมินความเสี่ยงในการบริหารห่วงโซ่ อุปทานเป็นประจำต่อเนื่องทุกปี โดยพิจารณาจัดกลุ่มคู่ธุรกิจให้สอดคล้องกับความเสี่ยงและความสำคัญ โดยใช้กรอบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Risk Management) ร่วมกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย (Spend Analysis) และเพิ่มความชัดเจนในการพิจารณาความเสี่ยงที่มีผลต่อธุรกิจ เพื่อจำแนกคู่ธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ (Critical Supplier) และ รายละเอียดในการพิจารณาถึงปัจจัยความเสี่ยงด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี (Environmental Social and Governance : ESG) เพื่อจำแนกคู่ธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (High Potential Sustainability Risk Supplier) ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารจัดการคู่ธุรกิจ (Supplier Management) แต่ละกลุ่ม ได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านกระบวนการต่างๆ ได้แก่ การกระจายแหล่งที่มา (Diversified Source of Supply) การตรวจประเมินคู่ธุรกิจ (Supplier Assessment) การปรับปรุงการดำเนินงานร่วมกับคู่ธุรกิจ (Corrective Action) เช่น การให้คำปรึกษาในการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ได้ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว (Go Green Together) ตลอดจนการวางแผนพัฒนาคู่ธุรกิจสู่ความยั่งยืน (Supplier Development for Sustainability Program) ร่วมกับคู่ธุรกิจที่มีศักยภาพและความมุ่งมั่นที่ จะร่วมงานและเติบโตไปกับเอสซีจี (Focused Supplier)

แผนผังกลุ่มคู่ธุรกิจ 4 กลุ่ม
คู่ธุรกิจที่มีนัยสำคัญ (Critical Supplier) หมายถึง คู่ธุรกิจผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าและบริการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจของเอสซีจี เช่น มียอดซื้อสูง เป็นส่วนประกอบสำคัญของสินค้า หรือไม่อาจหาวัสดุ/ผู้ขาย รายอื่นมาทดแทนได้
คู่ธุรกิจที่มีนัยสำคัญ (Critical Supplier) โดยพิจารณาจาก
- High Volume เป็นคู่ธุรกิจที่มียอดซื้อสูง (ยอดซื้อที่ถือเป็น High Volume ขึ้นกับทางธุรกิจ/บริษัทกำหนด) และ/หรือ
- Critical Component เป็นคู่ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการที่สำคัญต่อกระบวนการผลิตหรือการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก และ/หรือ
- Non-Substitutable/ Oligopoly/ OEM
- Non-Substitutable: เป็นคู่ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการที่ไม่สามารถหาวัสดุ/ผู้ขายรายอื่นมาทดแทนได้
- Oligopoly เป็นคู่ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการที่มีผู้ขายน้อยราย
- OEM (Original Equipment Manufacturer) เป็นคู่ธุรกิจที่รับจ้างผลิตสินค้าเป็น House Brand/Private Brand
คู่ธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (High Potential Sustainability (ESG)
(Risk Supplier) หมายถึง คู่ธุรกิจผู้ผลิตและจัดจำหน่วยสินค้าและบริการที่มีแนวโน้มสูงว่าอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบจากการดำเนินการที่ไม่เหมาะสมในเชิงสังคม (เช่น สิทธิมนุษยชน การดูแลพนักงานและแรงงาน) สิ่งแวดล้อม (เช่น การจัดการของเสีย) และการกำกับดูแล (เช่น การปฏิบัติตามกฎหมาย) โดยพิจารณาจาก
- การวัดระดับความรุนแรงผลกระทบของคู่ธุรกิจ (Severity Rating) พิจารณาระดับความรุนแรงของผลกระทบของคู่ธุรกิจ 3 ระดับ คือ ความเสี่ยงน้อย ความเสี่ยงปานกลาง ความเสี่ยงรุนแรง ควบคู่กับหลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล
- Environmental Risk ความเสี่ยง/ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโดยอาทิ การบริหารจัดการน้ำ ของเสีย พลังงาน สารเคมี มลพิษทางอากาศ ก๊าซเรือนกระจก การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
- Social Risk ความเสี่ยงด้านสังคม ความเสี่ยงด้านสังคม อาทิ การจัดการด้านแรงงาน (แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ) สิทธิมนุษยชน สุขภาพ ความปลอดภัย เกิดข้อร้องเรียน หรือไม่เป็นไปตามข้อกฎหมาย หรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
- Business/Governance Risk ความเสี่ยงธุรกิจ/การกำกับดูแล อาทิ การปฏิบัติตามกฎหมาย ภาพลักษณ์องค์กร การดำเนินการตามใบอนุญาต
- การวัดโอกาสที่จะเกิดขึ้น (Likelihood Rating) พิจารณาโอกาสที่จะเกิดขึ้น 3 ระดับ คือ ไม่น่าเกิดขึ้น อาจจะเกิดขึ้น และน่าจะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงมาตรการควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

Example of Risk Assessment Metric
การจัดกลุ่มคู่ธุรกิจ (Supplier Segmentation)
พิจารณานำผลจากการวิเคราะห์การใช้จ่ายและการประเมินคู่ธุรกิจมาจัดกลุ่มคู่ธุรกิจ เพื่อบริหารจัดการคู่ธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพตามความสำคัญและความเสี่ยง
- คู่ธุรกิจที่มีนัยสำคัญ (Critical Supplier) ดำเนินการตรจสอบและวางแผนปิดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
- คู่ธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (High Potential Sustainability (ESG) Risk Supplier) ดำเนินการประเมินคู่ธุรกิจ พร้อมวางแผนพัฒนาร่วมกันในระยะยาวเพื่อยกระดับห่วงโซ่อุปทาน
- คู่ธุรกิจทั่วไป (General Supplier) คู่ธุรกิจลงนามปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี หรือ คู่ธุรกิจมีจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ/ข้อกำหนด/แนวทางดำเนินธุรกิจ ที่สอดคล้องกับจรรยาบรรณ
คู่ธุรกิจที่สนใจหรือมีโอกาสทางธุรกิจสูง (Focused or High Opportunity Supplier) ควรพิจารณาโอกาส (Opportunity) ในการสร้างความร่วมมือกับคู่ธุรกิจเพื่อพัฒนาสินค้าหรือบริการ โดย วางแผนร่วมกับคู่ธุรกิจเพื่อพัฒนาและสร้างความก้าวหน้าทางธุรกิจร่วมกัน

การบริหารจัดการตามกลุ่มคู่ธุรกิจ

การบริหารจัดการตามกลุ่มคู่ธุรกิจ
เอกสารดาวน์โหลด
Green Procurement Guideline
Supplier code of conduct
SCG Procurement and Vendor Selection Policies and Guidelines