เอสซีจียึดมั่นในการดําเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึง การกํากับดูแลการดําเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยมีอุดมการณ์ 4 และจรรยาบรรณ เอสซีจี เป็นหลักสําคัญมีกระบวนการรับข้อร้องเรียนและแจ้งเบาะแสตามหลักสากล พร้อมกับนําเครื่องมือและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการกํากับดูแลกิจการตามมาตรฐานสากลมาใช้ เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืน

เป้าหมาย

พนักงานเรียนรู้และทดสอบ ด้านจริยธรรมผ่าน Ethics e-Testing 100%

กลยุทธ์

  1. สร้างเสริมความรู้ความสามารถเรื่องการกํากับดูแลกิจการแก่คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงอย่างสม่ําเสมอ เพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พนักงานเอสซีจี
  2. ปรับปรุงหลักบรรษัทภิบาลเอสซีจีและจรรยาบรรณเอสซีจีให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์มาตรฐานสากล ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
  3. ประเมินและตรวจสอบเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยใช้ระบบเชิงป้องกันประกอบด้วยแบบทดสอบจริยธรรม การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของหน่วยงาน 3 ระดับ และระบบรับข้อร้องเรียนที่ผู้มีส่วนได้เสียเข้าถึงได้
  4. สื่อสารและจัดฝึกอบรมด้านจรรยาบรรณแก่หน่วยงานกํากับดูแล พนักงาน รวมถึงคู่ค้าและคู่ธุรกิจเป็นประจํา เพื่อสร้างวัฒนธรรมการทํางานที่โปร่งใส

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

ส่งเสริมการกํากับดูแลกิจการที่ดีด้วย Integrated GRC การบริหารจัดการอย่างแยกส่วนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้การกํากับดูแลกิจการขาดประสิทธิภาพและเกิดความซ้ําซ้อนในการปฏิบัติงาน เอสซีจีจึงนําการบริหารจัดการองค์กรตามหลัก Integrated GRC (Governance, Risk and Compliance) มาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการกํากับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง การกํากับดูแลการปฏิบัติงานและการควบคุมภายใน โดยส่งเสริมพนักงานทุกระดับให้มีความเข้าใจและปฏิบัติตามหลัก Integrated GRC ได้อย่างถูกต้องด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น

  • Managing Director GRC Guidebook แนะนําแนวปฏิบัติของพนักงานระดับจัดการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ ระเบียบและกฎหมาย การควบคุมภายใน การบัญชีการบริหารทางการเงิน และการบริหารจัดการความต่อเนื่อง
  • คู่มือ SCG GRC e-Rulebook แนะนําแนวคิดพื้นฐานสําคัญ การปฏิบัติงานและตัดสินใจตามหลัก GRC สําหรับพนักงานทุกระดับสื่อสารผ่านอีเมลภายในเป็นประจํา ทั้งในรูปแบบ e-Book วิดีโอ และอินโฟกราฟิก
  • GRC Helpline ระบบให้คําปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามจรรยาบรรณ พร้อมวิดีโอขั้นตอนการใช้งาน GRC Helpline สื่อสารให้พนักงานเข้าใจและเข้าใช้งานได้ทันทีจากทุกที่

ปรับปรุงและขยายแนวปฏิบัติให้ครอบคลุมความเสี่ยงและผู้มีส่วนได้เสียกว้างขวางขึ้น

เอสซีจีติดตามความเสี่ยงและสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีทั้งในระดับประเทศและระดับสากลครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียกว้างขวางขึ้น และชัดเจนต่อการดําเนินธุรกิจยิ่งขึ้น

โดยในปี 2564 มีการปรับปรุงที่สําคัญซึ่งได้สื่อสารให้พนักงานเอสซีจีรับทราบ คือ

  • ปรับปรุงจรรยาบรรณให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติและมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการซึ่งบริษัทย่อยและบริษัทร่วมสามารถนำหลักปฏิบัติตามจรรยาบรรณเอสซีจีไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม
  • ทบทวนนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันให้สอดคล้องกับความเสี่ยงและสถานการณ์ปัจจุบัน
  • สื่อสารให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียรับทราบการร้องเรียนในระบบ SCG Whistleblowing System ได้ตลอดเวลา ซึ่งรองรับการแจ้งเบาะแสทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษนอกเหนือจากการร้องเรียนด้วยวาจา อีเมล และจดหมาย

การให้ความรู้และทดสอบจริยธรรมพนักงาน Ethics e-Testing

ปี 2564 เป็นปีที่ 7 ที่เอสซีจีจัดทําแบบทดสอบจริยธรรมของพนักงาน Ethics e-Testing มาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยคุณธรรม อุดมการณ์เอสซีจี จรรยาบรรณและนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน เพื่อให้พนักงานทุกระดับเรียนรู้และเข้าใจการปฏิบัติตามนโยบาย โดยในปี 2564 ได้มีการทบทวนแบบทดสอบเรื่องนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันให้สอดคล้องกับประกาศ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

ปี 2564 พนักงานเอสซีจีทำแบบทดสอบจริยธรรมผ่านเกณฑ์ 100% และได้วิเคราะห์การตอบแบบทดสอบเพื่อนำประเด็นที่สำคัญกลับมาสื่อสารให้พนักงานเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง

…..

นโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน 

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 กรรมการผู้จัดการใหญ่ได้ประกาศนโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษรในสารจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ที่สื่อสารถึงทุกคนในองค์กร เพื่อยกระดับการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานเอสซีจีทุกคนต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย การทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมายเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ โดยวางพื้นฐานให้ผู้ปฏิบัติงานในฐานะ First Line มีกระบวนการปฏิบัติงานที่มั่นใจได้ว่าจะป้องกันความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และมีหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติงาน (Second Line) เป็นผู้สนับสนุนการนำระบบการบริหารงานดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยสร้างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงาน ให้คำปรึกษา กำหนดการควบคุม และร่วมสร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์สืบทอดเป็นวัฒนธรรมของเอสซีจี เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเอสซีจี กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานเอสซีจีทุกคน ซึ่งจะส่งเสริมให้เอสซีจีเติบโตอย่างมั่นคง สมดุลและยั่งยืน 

นโยบายในทุกประเทศที่ดำเนินธุรกิจ 

ตั้งแต่ปี 2560 เอสซีจีกำหนดนโยบาย และแนวปฏิบัติสำหรับการปฏิบัติตามกฎหมายสำคัญ 3 เรื่อง เพื่อให้ทุกคนตระหนักและเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามกฎหมายในทุกประเทศที่เอสซีจีดำเนินธุรกิจเพื่อยกระดับการกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนี้ 

  1. นโยบายการแข่งขันทางการค้า (Anti-trust Policy) 
  2. นโยบายการจัดการข้อมูลภายในที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ (Insider Trading Policy) 
  3. นโยบายการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure Policy) 

   

การแข่งขันทางการค้า 

นำระบบการบริหารงานด้านการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน (Compliance Management System-CMS) มาใช้ในการปฏิบัติตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้า เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าผู้บริหารและพนักงานมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้องครบถ้วน และมีระบบการติดตามที่มีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาเอสซีจีและพนักงานเอสซีจีไม่มีคดีความหรือถูกร้องเรียนหรือถูกกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมละเมิดกฎหมายการแข่งขันทางการค้า รวมทั้งไม่เคยโดนลงโทษหรือต้องจ่ายค่าปรับอันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้า  นอกจากนี้ยังไม่พบการร้องเรียนภายในใดว่าพนักงานกระทำการฝ่าฝืนนโยบายหรือแนวปฏิบัติการแข่งขันทางการค้า 

สนับสนุนบทบาทผู้บริหาร 

เอสซีจีให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้กรรมการบริษัททุกคนปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้บริหารและพนักงาน ตามแนวทางบรรษัทภิบาลและการยึดมั่นในจรรยาบรรณเอสซีจี การจัดกิจกรรมให้กรรมการบริษัทได้แสดงบทบาทและมีส่วนร่วม 

การสื่อสารและอบรมเรื่องจรรยาบรรณ 

เพื่อเสริมสร้างให้พนักงานทุกคนสามารถนำจรรยาบรรณเอสซีจีไปใช้ทุกการตัดสินใจในการปฏิบัติงานด้วยการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ที่สามารถเข้าถึงพนักงานได้กว้างขวางมากขึ้น ผ่านการดำเนินงานต่าง ๆ ดังนี้ 

  • ประชาสัมพันธ์ความหมาย GRC ในบริบทของเอสซีจีและกิจกรรมส่งเสริมให้พนักงานรับรู้ในเรื่อง GRC (Governance, Risk and Compliance) ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน 
  • เสริมสร้างความตระหนักรู้ และส่งเสริมให้พนักงานแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับจรรยาบรรณเอสซีจี และแนวการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง โดยประชาสัมพันธ์ระบบ GRC Helpline ซึ่งเป็นช่องทางให้คำปรึกษาสำหรับพนักงานในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ Governance, Risk, Compliance และ Internal Control เพื่อส่งเสริมให้การปฏิบัติงานของพนักงานมีประสิทธิภาพแม้จะปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย (Work From Home) 
  • ประชาสัมพันธ์ความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณเรื่องของกำนัลและการเลี้ยงรับรอง เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องแนวปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการให้และรับของขวัญ รวมไปถึงการเลี้ยงรับรองในโอกาสต่าง ๆ 

แบบทดสอบจริยธรรม (Ethics  e-testing) 

เอสซีจีมีการใช้แบบทดสอบจริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องมือระบบเชิงป้องกัน (Proactive and Preventive System) ในการประเมิน การตรวจสอบ และการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านจริยธรรมให้แก่พนักงานทุกระดับเป็นประจำทุกปี ผ่านแบบทดสอบ “Ethics e-Testing และ e-Policy e-Testing” เพื่อให้สามารถนำเรื่องคุณธรรม อุดมการณ์ 4 จรรยาบรรณ และนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันมาปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมให้เกิดผลได้จริง โดยในปี 2564 ได้จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 7 และ SCG e-Policy e-Testing ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ซึ่งพนักงานของเอสซีจีทุกคนผ่านการทดสอบ นอกจากนี้ได้มีการวิเคราะห์การตอบแบบทดสอบของพนักงาน และสื่อสารให้พนักงานทุกระดับเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง แบบทดสอบจะมีการทบทวนทุกปีเพื่อให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ซึ่งในปีนี้มีการเพิ่มแบบทดสอบเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และเรื่องการบูรณาการการกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง การกำกับดูแลการปฏิบัติงาน และการควบคุมภายใน (Integrated GRC) 

กำหนดให้พนักงานเอสซีจีต้องทดสอบวัดความรู้ในเรื่อง Ethics e-Testing และ e-Policy e-Testing ต้องผ่านการทดสอบด้วยเกณฑ์ร้อยละ 100 เพื่อให้พนักงานรับทราบ ตระหนัก และเกิดความเข้าใจสามารถนำไป ปฏิบัติได้ถูกต้อง

การต่อต้านคอร์รัปชัน 

เอสซีจีให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาล ซึ่งรวมถึงการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยคณะกรรมการบริษัทได้อนุมัตินโยบายต่อต้านคอร์รัปชันซึ่งมีการทบทวนตามความเหมาะสม และได้กำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือจรรยาบรรณเอสซีจี (SCG Code of Conduct) ซึ่งเป็นพื้นฐานของการประพฤติปฏิบัติของพนักงานเอสซีจีปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมขององค์กร โดยมีการสื่อสารและอบรมให้พนักงานเกิดความเข้าใจและนำไปปฏิบัติครอบคลุมถึงบริษัทย่อย มีการวิเคราะห์ข้อบ่งชี้และประเมินความเสี่ยงการเกิดคอร์รัปชันอย่างสม่ำเสมอ สร้างระบบงานเชิงป้องกัน กำหนดวิธีการลดความเสี่ยงและการควบคุม (Risk Mitigation and Control) ให้พนักงานใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดคอร์รัปชัน โดยมีสำนักงานตรวจสอบประเมินการปฏิบัติตามนโยบายฯ แล้วรายงานต่อคณะจัดการเอสซีจี คณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไข รวมถึง ได้จัดทำจรรยาบรรณคู่ธุรกิจ (SCG Supplier Code of Conduct) เพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจแนวการปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลของเอสซีจี และเป็นมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน 

นอกจากนี้ เอสซีจียังได้จัดทำช่องทางในการแจ้งเบาะแสการกระทำผิดพร้อมกำหนดนโยบายคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้แจ้งเบาะแส เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรของบริษัทและผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ สามารถแจ้งข้อมูลหรือให้เบาะแสการฝ่าฝืนหรือความผิดปกติในการดำเนินธุรกิจของเอสซีจี ตลอดจนได้กำหนดแนวปฏิบัติในการตรวจสอบข้อร้องเรียน พร้อมทั้งเปิดเผยให้สาธารณชนทราบผ่านรายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) 

จากการดำเนินการดังกล่าว ทำให้เอสซีจีได้รับการรับรองเป็น Certified Company จากคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption – CAC) เมื่อปี 2553 และได้รับการต่ออายุการรับรองอย่างต่อเนื่องล่าสุดเมื่อปี 2564  โดยเกณฑ์การพิจารณารับรองของ CAC ได้ประยุกต์จากกรอบความคิด (Framework) ของ Bribery Act ของสหราชอาณาจักร (United Kingdom) ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของ ISO 37001 Anti-bribery Management Systems 

Certified Companies of Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption

การตรวจสอบข้อร้องเรียน 

ในปี 2564 มีข้อร้องเรียนรวมทั้งสิ้น 38 เรื่อง ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเสร็จรวม 33 เรื่อง (รวมข้อร้องเรียนของปี 2562 จำนวน 5 เรื่อง) และอยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริงและสอบสวน 10 เรื่อง ทั้งหมดนี้ไม่มีเรื่องการคอร์รัปชัน เรื่องที่ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเสร็จ ได้ผลการสอบสวนแล้วเสร็จ และไม่มูลค่าความเสียหาย ดังนี้ 

 2560 2561 2562 2563 2564 
จำนวนข้อร้องเรียนทั้งหมด 31 21 30 38 30 
จำนวนข้อร้องเรียนที่สอบสวนแล้วเสร็จ 27 28 29 33 28 
ประเภทข้อร้องเรียนที่สอบสวนแล้วเสร็จ      
   1. ผิดจรรยาบรรณหรือทุจริต      
      1.1 ผลประโยชน์ทับซ้อน 
      1.2 คอร์รัปชัน 
      1.3 การละเมิดสิทธิมนุษยชน 
            1.3.1 การล่วงละเมิดทางเพศ0 0 0 0 0
            1.3.2 การล่วงละเมิดในรูปแบบอื่นๆ0 0 0 0 0
      1.4 การแข่งขันทางการค้า 
      1.5 การใช้ข้อมูลภายใน 
      1.6 อื่นๆ 
  2. ไม่ปฏิบัติตามระเบียบบริษัท 13 
  3. ไม่เป็นไปตามข้อร้องเรียน 14 12 18 22 16 

การสนับสนุนต่อภาคส่วนต่างๆ 

เอสซีจีบริษัทชั้นนำของประเทศไทย มีบทบาทเข้มแข็งในการสนับสนุนช่วยเหลือ มูลนิธิ องค์กรการกุศล สมาคมการค้าต่าง สมาคมธุรกิจ และกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นภาษี ในฐานะกลุ่มต่างๆ ทั้งในระดับนานาชาติ และระดับประเทศ เพื่อเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับแนวโน้มและความต้องการด้านต่างๆ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนมุมมองและข้อแนะนำต่างๆ  โดยให้การสนับสนุนองค์กรดังกล่าว ทั้งในด้านมูลค่าที่เป็นตัวเงินและทรัพยากรบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการเข้าร่วมสนับสนุนโครงการนั้นๆ

เอสซีจีวางตัวเป็นกลางทางการเมือง โดยมีนโยบายไม่สนับสนุนด้านการเงินหรือรูปแบบอื่นแก่พรรคการเมือง กลุ่มแนวร่วมทางการเมือง หรือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทางการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศ หรือบุคคลผู้มีอิทธิพลทางการเมือง หรือนักวิ่งเต้นทางการเมือง หรือผู้ได้รับประโยชน์ทางการเมือง และอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน (การรณรงค์หาเสียง การซื้อเสียง กิจกรรมเพื่อการลงคะแนนเสียง การลงประชามติ ฯลฯ ) รวมทั้งมีนโยบายไม่จ่ายค่าอำนวยความสะดวกให้กับพนักงานรัฐซึ่งหมายถึงการกระทำใดๆ ที่อาจทำให้เกิดอิทธิพลหรือแรงจูงใจในการตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดและทำให้เกิดการปฏิบัติหน้าที่หรือการตัดสินใจที่ไม่เป็นธรรม

ในปี 2564 เอสซีจียังคงมุ่งขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG และหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การยกระดับการจัดการขยะพลาสติก เปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้น ตามรายละเอียดสถานะการเข้าร่วมโครงการที่แสดง ต่อไปนี้ 

ประเด็นสำคัญหรือหัวข้อสถานะการเข้าร่วมรายละเอียดการมีส่วนร่วม (การสนับสนุน)มูลค่าการสนับสนุนทั้งหมดในปี 2564 (บาท)
ความร่วมมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนสนับสนุนเอสซีจีมุ่งสู่การดำเนินธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยธุรกิจต่างๆ ภายในองค์กร และองค์กรภายนอก ที่มีความมุ่งมั่นร่วมกันในการแก้ไขปัญหามลพิษขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อมและมีส่วนสนับสนุนธุรกิจที่ยั่งยืนในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ทั้งการเพิ่มการใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นแหล่งพลังงานทดแทน หรือเป็นวัตถุดิบของการแปรรูปสร้างผลิตภัณฑ์ การพัฒนาออกแบบสินค้าและบริการที่มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น มีอายุใช้งานยาวนาน และลดปริมาณของเสีย หลายโครงการของเอสซีจียังนำวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตไปรีไซเคิลช่วยพัฒนาอาชีพและเศรษฐกิจของชุมชน เอสซีจีจะยังคงจัดทำโครงการขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง โดยขยายเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการบริโภค8,083,400
การทำงานร่วมกันเพื่อธุรกิจที่ยั่งยืนสนับสนุนเอสซีจีมุ่งดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำให้เอสซีจีตระหนักดีว่าปัญหาที่กำลังส่งผลกระทบต่อทุกคนบนโลก ทั้งปัญหาภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ของเสียและขยะ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การขาดแคลนทรัพยากร สุขภาพและคุณภาพชีวิต ไม่อาจแก้ไขได้โดยลำพัง หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่กุญแจสำคัญคือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม3,069,652

เอสซีจี ได้เข้าร่วมและดำรงเป็นสมาชิกของสมาคมและองค์กรต่างๆ ที่อาจมีข้อนำเสนอ หรือ มุมมองต่างๆ เพื่อการพัฒนาประเทศและอุตสาหกรรม เพื่อให้ฝ่ายรัฐบาลได้นำไปพิจารณา และในทางปฏิบัติ สมาคมและองค์กรเหล่านี้ไม่มีอิทธิพลต่อรณรงค์ทางด้านการเมืองแต่อย่างใด

องค์กรที่เอสซีจีให้เงินสนับสนุนในปี 2564 5 ลำดับแรก คือ Alliance to End Plastic Waste (AEPW), World Business Council for Sustainable Development (WBCSD), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะประเด็นที่ต้องเร่งมือสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เช่น การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจหมุนเวียน สุขภาพและความปลอดภัย เพื่อให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมโดยมิได้ให้การสนับสนุนเพื่อชี้นำองค์กรใดหรือเป็นผู้แทนที่มีส่วนได้เสียต่อการดำเนินงานขององค์กรนั้น

จำนวนเงินที่สนับสนุน (บาท)

รายชื่อองค์กรประเภทองค์กรการสนับสนุน25602561256225632564
Alliance to End Plastic Waste (AEPW)องค์กรไม่แสวงผลกำไรความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยยุติขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อมและผลักดันให้เกิดธุรกิจที่ยั่งยืน ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ธุรกิจและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติNANA15,472,6009,231,4068,083,400
World Business Council for Sustainable Development (WBCSD)องค์กรไม่แสวงผลกำไรการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรธุรกิจเพื่อความยั่งยืน โดยมุ่งเน้นผลกระทบเชิงบวกสูงสุดสำหรับผู้ถือหุ้น สิ่งแวดล้อมและสังคม โดยเอสซีจีเข้าร่วมเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและเป็นสมาชิกหลักของ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา SCG ได้ถือปฏิบัติและดำเนินธุรกิจตามแนวทางของ WBCSD รวมทั้งปฏิบัติเป็นต้นแบบและให้คำแนะนำแก่บริษัทอื่นๆ ในประเทศไทย เช่น  การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจหมุนเวียน สุขภาพและความปลอดภัย กิจกรรมทางสังคม ความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูล และการตรวจสอบภายนอก3,692,366 3,692,366 3,053,664 2,755,998 1,759,650
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (F.T.I.)สมาคมทางการค้าการพัฒนาสถาบันธุรกิจภาคเอกชน ของไทยให้แข็งแกร่งด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน อันจะทำให้กลไกการพัฒนา ในภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สามารถประสานกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติในวงการเศรษฐกิจโลก630,6361,970,3401,415,3531,213,9881,012,596
UN Global Compact (UNGC) / สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT)*องค์กรไม่แสวงผลกำไรความร่วมมือในการจัดทำกลยุทธ์และการดำเนินงานให้สอดคล้องกับหลักการความยั่งยืนสากล เช่น สิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต และดำเนินการตามเพื่อสนับสนุนเป้าหมายของสหประชาชาติ519,216471,09516,500311,910297,406
หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยสมาคมทางการค้าความร่วมมือเพื่อการพัฒนาธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือการลงทุน312,750441,054262,364236,256160,099
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA)องค์กรไม่แสวงผลกำไรความร่วมมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยการส่งเสริมความเป็นเลิศในด้านความเป็นผู้นำ ส่งเสริมการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ด้านการบริหารจัดการในทางปฏิบัติ และการสนับสนุนโอกาสในการสร้างเครือข่าย74,91451,01049,75530,495
* ในปี 2560 – 2561 เอสซีจีสนับสนุน UN Global Compact โดยจ่ายเงินสนับสนุนให้มูลนิธิ Global Compact

เอกสารดาวน์โหลด

จรรยาบรรณ เอสซีจี
จรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี
นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน
นโยบายการแข่งขันทางการค้า
นโยบายการรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตและการกระทำผิด
ระบบรับข้อร้องเรียนและแจ้งเบาะแสเอสซีจี
นโยบายการเปิดเผยข้อมูล
การสนับสนุนภาคส่วนต่างๆ
Tax Reporting and Effective Tax Rate