ภายใต้ความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และสร้างความเจริญก้าวหน้าในทุกสังคมและชุมชนที่เข้าไปดำเนินงาน เอสซีจีให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มและสนับสนุนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมและครอบคลุม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์เชิงบวก สร้างความเชื่อมั่น และสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกับเอสซีจี

การดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสีย

เอสซีจียึดมั่นในความเป็นองค์กรที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนที่เรามีการดำเนินธุรกิจ โดยเคารพสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียและปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเป็นธรรม เอสซีจีพร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อกังวลต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ และดำเนินการร่วมกันในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง ที่รวมไปถึงประเด็นด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

เอสซีจีดำเนินการภายใต้กรอบการกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคมตามที่ระบุไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของเอสซีจี พนักงานของเราปฏิบัติตามจรรยาบรรณเอสซีจีอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันอคติที่เกิดจากการกระทำที่ไม่เหมาะสม

เนื่องจากความหลากหลายของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย แต่ละกลุ่มอาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของเราในระดับต่างๆ ดังนั้น เอสซีจีจึงได้ประกาศนโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย และทบทวน ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พนักงานทุกคนเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย และเพื่อให้การดำเนินงานในทุกหน่วยงานมีความสอดคล้องกันตามกระบวนการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย การกำหนดกลยุทธ์ในการสื่อสาร การเปิดเผยข้อมูล และการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม

ในปี 2563 เอสซีจีได้จัดทำคู่มือการสร้างความมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย จากมาตรฐาน AA1000 Stakeholder Engagement Standard (AA1000SES) 2015 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับในด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย คู่มือดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติให้แก่พนักงาน รวมทั้งผู้ปฏิบัติงาน เพื่อนำไปใช้ในการรับรู้มุมมอง ทัศนคติ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อเอสซีจี และสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียอย่างมีประสิทธิผล และสร้างคุณค่าระยะยาวระหว่างผู้มีส่วนได้เสียและเอสซีจี

แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

เอสซีจีจำแนกผู้มีส่วนได้เสียเป็น 12 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า คู่ธุรกิจ ผู้ร่วมลงทุน เจ้าหนี้  ชุมชน หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน ภาคประชาสังคม/นักวิชาการ/ผู้นำความคิด และคู่แข่ง ในแต่ละปี หน่วยงานที่รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกลุ่ม จะทำการประเมินบทบาท หน้าที่และความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย และออกแบบวิธีการที่เหมาะสมรวมถึงระดับของการมีส่วนร่วม

บูรณาการความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่หลากหลายที่ได้รับจากผู้มีส่วนได้เสีย ในทุกด้านของการดำเนินงานของเอสซีจี เพื่อปรับปรุง ต่อยอด สร้างคุณค่าต่อผู้มีส่วนได้เสีย และเสริมสร้างความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียต่อการดำเนินงานของเอสซีจี

โครงการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญในปี 2565

ผู้ถือหุ้น

การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ถือหุ้น

  • กิจกรรมสำหรับผู้ถือหุ้นสามัญ

เอสซีจีตระหนักถึงความสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ถือหุ้น บริษัทจึงจัดกิจกรรมที่่เป็นประโยชน์ต่อสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเข้าเยี่ยมชมกิจการในธุรกิจหลักของบริษัทและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553

ในปี 2565 สถานการณ์โควิด 19 เริ่มคลี่คลาย บริษัทจึงได้จัดกิจกรรมสำหรับผู้ถือหุ้นสามัญเยี่่ยมชมแนวทางการดำเนินงานด้าน ESG ของบริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) (SCGC) รวมทั้้งทำกิจกรรมร่วมกับวิสาหกิจชุุมชน ณ นิคมอุุตสาหกรรม RIL จังหวัดระยอง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่่อให้ผู้ถือหุ้นที่่แสดงความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมสำหรับรอบปี 2564-2565 ได้รับทราบถึงแนวทางการดำเนินธุุรกิจอย่่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG บนหลักเศรษฐกิจหมุุนเวียน (Circular Economy) ทั้งในด้านกระบวนการผลิต และความร่วมมือกับชุุมชนรอบโรงงาน เช่น แนวทางการจัดการปัญหาขยะ เป็นต้น พร้อมทั้งทำกิจกรรมร่วมกับวิสาหกิจชุุมชนในท้องถิ่นด้วย

  • กิจกรรมสำหรับผู้ถือหุ้นกู้สมาชิกเอสซีจี ดีเบนเจอร์ คลับ
    • กิจกรรมเสวนาออนไลน์ หัวข้อ “สินทรัพย์ดิจิทัล ทางเลือกแห่งอนาคต” และกิจกรรมสัมมนา “รู้ทันไซเบอร์” มีผู้เข้าร่วม 400 คน
    • กิจกรรม SCG Smiling เวิร์คชอปสร้างสรรค์เพื่อสังคมจัดทำ “แผ่นภาพ คิด Learn” สื่อการเรียนทำจากผ้าสักหลาด มอบให้นักเรียนผู้พิการทางการได้้ยินของโรงเรียนโสตศึกษาของมููลนิธิอนุุเคราะห์คนหููหนวกในพระบรมราชินููปถัมภ์ และกิจกรรม “สื่อบอร์ดภาพสร้างจินตนาการ” มอบให้นักเรียนระดับอนุุบาล-ประถมศึกษาโดยมููลนิธิราชประชานุุเคราะห์ในพระบรมราชููปถัมภ์

โครงการหุ้นกู้เอสซีจี ใจดีช่่วยโรงเรียนของหนูู เปิดรับบริจาคเงินจากผู้ถือหุ้นกู้ได้ยอดเงินบริจาครวม 2.45 ล้านบาท เพื่่อสนับสนุนการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการศึกษาให้โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 3 แห่งในจังหวัดดนครพนม ได้แก่ โรงเรียนบ้านโคก สว่าง โรงเรียนบ้านดอนแดง และโรงเรียนบ้านโพน

พนักงาน

การเคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

  • เคารพและคุ้มครองสิทธิของพนักงาน โดยทบทวนโยบายสิทธิมนุษยชน และนโยบายด้านการบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคลให้สอดคล้องกับประเด็นและบริบทในสังคม สื่่อสารและให้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนแก่พนักงาน รวมถึงการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเชิงลึก (Empathizing Project) ของพนักงานทั่วทุกกลุ่ม เช่น พนักงานเพศหญิง ผู้พิการ ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ผู้มีความหลากห ลายทางเพศ เพื่่อจะนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาเนื้อหาของการสื่อสารด้านสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงการปรับปรุงแนวทางการใหม่ๆ ในการดููแลพนักงานให้ตรง ตามความต้องการอย่างทั่วถึง
  • สนับสนุนนโยบายสิทธิมนุษยชนด้านการบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคล โดยกำหนดเป้าหมายเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้หญิงในระดับผู้บริหารให้มากขึ้นภายในปี 2568
  • ปรับปรุงเรื่องการดูแลพนักงาน เพื่อสร้างเสริมให้เกิดประสบการณ์และความเป็นอยู่ที่่ดีแก่พนักงานตลอดการจ้างงาน (Employee Experience & Well-being) และเพื่่อให้เกิดความผูกพันที่ดีต่อองค์กร อาทิ การทบทวนนโยบายการกลับ เข้าทำงานหลังการแพร่ระบาดของโควิด 19 การกำหนดนโยบายการทำงานที่ยืดหยุ่น การออกแบบ สถานที่่ทำงานรูปแบบ ใหม่ การสร้างสรรค์โครงการเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความผูกพัน เป็นต้น

การบริหารค่าตอบแทน

มีกระบวนการประเมินคุณค่าของงานในระดับต่าง ๆ ภายในองค์กร กำหนดโครงสร้างเงินเดือนค่าตอบแทนที่เหมาะสมและแข่งขันได้กับตลาดแรงงานภายนอก ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือในทำเลที่ตั้งใกล้เคียงกันได้ และมีระบบการประเมินผล การปฏิบัติงานโดยยึดมั่นในความเท่าเทียมและเป็นธรรมภายในองค์กร

การบริหารสวัสดิการ

กำหนดนโยบายการบริหารสวัสดิการและประโยชน์ และแนวปฏิบัติที่่เกี่ยวข้องไว้ในข้อบังคับการบริหารงานบุคคล ระเบียบและแนวปฏิบัติการบริหารงานบุคคลของบริษัท เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือพนักงาน ทั้้งในด้านการดูแลและส่งเสริมสุขภาพที่ดี อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่่ไปจนถึงเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ที่ดี ตามความเหมาะสมของพนักงานในแต่ละระดับ โดยจะได้รับการทบทวนให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

การดูแลพนักงานในระยะยาว

เอสซีจีให้ความสำคัญกับการบริหารความก้าวหน้าของพนักงาน เพื่อให้พนักงานทราบถึงเส้นทางการเติบโตในหน้าที่การงาน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างแรงจูงใจ และความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร โดยมีการกำหนดแผนพัฒนาร่วมกันระหว่างพนักงานและผู้บังคับบัญชาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการจัดสวัสดิการเพื่อดูแลพนักงานในระยะยาว

ลูกค้า

  • จัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ในทุกธุรกิจ เพื่อให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
  • ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาการบริการหลังการขาย
  • รับข้อร้องเรียนเมื่อเกิดปัญหา เพื่อนำข้อเสนอแนะไปจัดทำเป็นแผนงานสำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ดีมากขึ้น
  • มีการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าในแต่ละกลุ่มธุรกิจเป็นประจำทุกปี เพื่อวัดระดับความคาดหวัง และความพึงพอใจของลูกค้า และนำเอาความต้องการเชิงลึกของลูกค้ามาพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ  
  • มีระบบวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคของลููกค้า เพื่่อเรียนรู้ความต้องการต้องการของลูกค้าและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าในระยะยาว ในการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า ปี 2565 ผ่านช่องทาง SCG Contact Center เอสซีจีมีผลสำรวจความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 100

คู่ค้า/ คู่ธุรกิจ

  • มีนโยบายในการดูแลคู่ธุรกิจ ทั้้งในเรื่องสภาพแวดล้อม ความปลอดภัยในการทำงาน และผลตอบแทนที่จะได้รับ
  • ให้ความรู้ ให้คำปรึกษาและสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบ
  • ส่งเสริมความปลอดภัยด้วยการให้การรับรองระบบความปลอดภัยคู่ธุรกิจ
  • การพิจารณาค่าตอบแทนที่เหมาะสมและยุติธรรม
  • ส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถและพัฒนาความรู้ทั้งในงานและนอกงานของคู่ธุรกิจให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่่งขึ้้น และสนับสนุนให้คู่ธุรกิจมีการพัฒนาความรู้เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ผู้ร่วมทุน

  • ให้ความร่วมมืออย่างดีกับผู้ร่วมทุน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของกิจการร่วมทุนให้มีความแข็งแกร่ง
  • สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้อเสนอแนะ และร่วมกันพิจารณากำหนดแผนธุรกิจ ร่วมกันพิจารณาจัดสรรผลประโยชน์อย่างเหมาะสม โปร่งใส
  • ติดตาม และผลักดันให้การดำเนินงานของกิจการร่วมทุนเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน และจรรยาบรรณเอสซีจี ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานของกิจการร่วมทุน ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจการร่วมทุน

เจ้าหนี้

  • จัดทำสัญญากับเจ้าหนี้้ทุกประเภทอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เสมอภาค เป็นธรรม และโปร่งใส โดยไม่เอาเปรียบคู่สัญญา
  • ไม่ใช้วิธีการทุจริต หรือปกปิดข้อมูล หรือข้อเท็จจริงสำคัญใด ๆ ที่อาจทำให้เจ้าหนี้้ได้รับความเสียหาย
  • ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงของสัญญาต่าง ๆ ที่ได้ทำไว้กับเจ้าหนี้ทุกประเภทอย่างเคร่งครัด ถูกต้อง ตรงไปตรงมา
  • ชำระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ทุกประเภทอย่างครบถ้วนและตรงตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงไว้
  • สื่อสารกับเจ้าหนี้ถึงสถานะของธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ และมุ่งมั่นในการรักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับเจ้าหนี้

ชุมชน

  • เอสซีจีสนับสนุนกิจกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาและสร้างประโยชน์ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคมที่เอสซีจีเข้าไปดำเนินธุรกิจทั้งในประเทศไทยและอาเซียน โดยมีคณะกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และส่งมอบแนวทางการดำเนินงาน พร้อมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ภาคีเครือข่าย ภาครัฐ รวมถึงชุมชนในพื้นที่ช่วยกันขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยมุ่งหวังให้อุตสาหกรรมและชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลและยั่งยืน
  • ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และสังคมได้ในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เว็บไซต์ www.scg.com

หน่วยงานราชการ

          เอสซีจีได้กำหนดแนวปฏิบัติในการทำธุรกรรมกับรัฐไว้ในจรรยาบรรณเอสซีจีและนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน โดยจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในแต่ละท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด และต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่อาจจูงใจให้พนักงานในหน่วยงานราชการมีการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม รวมถึงให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ ทั้งทางด้านวิชาการและการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะหรือข้อร้องเรียนต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการ

สื่อมวลชน

          เอสซีจีให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแก่สื่อมวลชนอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง โปร่งใส เพื่อให้สื่อมวลชนสามารถสื่อสารต่อไปยังสาธารณชนได้อย่างถูกต้องและทันเหตุการณ์ นอกจากนี้ ยังสร้างการมีส่วนร่วมกับสื่อมวลชนอย่างจริงจังและต่อเนื่องผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ตามความสนใจของสื่อมวลชน อาทิ การเรียนเชิญเข้าร่วมงานแถลงข่าว หรือกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัท รวมถึงสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสื่อมวลชน อาทิ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันเพื่อให้เกิดการพัฒนา หรือการสนับสนุนกิจกรรมวิชาการของสื่อมวลชนบนพื้นฐานจรรยาบรรณวิชาชีพ

ภาคประชาสังคม นักวิชาการ ผู้นำความคิด

          เอสซีจีดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม มีการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจที่ครบถ้วน ถูกต้อง โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ อีกทั้งยังตระหนักถึงความสำคัญของมุมมอง ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มาจากภาคประชาสังคม เพื่อนำมาสะท้อนถึงประเด็นต่าง ๆ ที่องค์กรสามารถพัฒนาเพื่อสร้างคุณค่าและประโยชน์ให้แก่สังคม โดยตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น (Opinion Panel) จากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้้งภาคราชการ เอกชนและองค์กรอิสระ โดยมุ่งเน้นการดูแลและสร้างคุณค่าให้สังคม ชุมชน รวมทั้งการขยายผลสู่อุตสาหกรรม ตลอดห่วงโซ่อุปทานของเอสซีจี เพื่อให้เกิดแนวทางร่วมกันในการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน

คู่แข่ง

          เอสซีจีดำเนินธุรกิจโดยมีนโยบายในการปฏิบัติต่อคู่แข่งอย่างเป็นธรรม ตามกรอบของกฎหมายการแข่งขันทางการค้า โดยยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้จรรยาบรรณเอสซีจีอย่างมีจริยธรรม โปร่งใส รวมทั้งไม่เอาเปรียบคู่แข่งด้วยวิธีการอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับด้วยวิธีการที่ไม่สุจริต หรือไม่เหมาะสม ไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของคู่แข่ง ไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งด้วยการกล่าวหาในทางร้ายโดยปราศจากข้อมูลความจริง ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการค้าอย่างเสรี หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการตกลงใด ๆ ที่เป็นการผูกขาด ลด หรือการจำกัดการแข่งขัน เป็นต้น

ช่องทางสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 

เอกสารดาวน์โหลด

นโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย
คู่มือการสร้างความมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย