เอสซีจีมีการวิเคราะห์และจัดทำแผนอัตรากำลังคนโดยคำนึงถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในระยะสั้นและระยะยาวอย่างสม่ำเสมอ และจากกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจด้วยการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ เอสซีจีจึงมีนโยบายในการจ้างงานบุคลากรที่เป็นประชากรในประเทศที่เข้าไปลงทุน รวมถึงส่งเสริมให้บุคลากรที่เป็นคนท้องถิ่นได้มีความก้าวหน้า สามารถเติบโตได้ในอาชีพการงาน อีกทั้งปรับปรุงกลยุทธ์การพัฒนาพนักงานที่ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร เพื่อเร่งพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะใหม่ ๆ ในการทำงานที่สอดรับกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ และปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งสร้างความผูกพันกับองค์กร โดยนำแนวปฏิบัติการดูแลพนักงานที่ดีมาใช้ตั้งแต่พนักงานเริ่มเข้าทำงานกับองค์กรจนถึงหลังเกษียณอายุ

เป้าหมาย

  • พนักงานกลุ่มเป้าหมายในประเทศไทยจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล และดำเนินการเรียนรู้ตามแผนครบทุกคน 100% ต่อเนื่องทุกปี
  • ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานเทียบกับพนักงานทั้งหมด (ในประเทศ, สำรวจทุกปี) มากกว่า 70%
  • ระดับความพึงพอใจของพนักงานทั้งหมด มากกว่า 60%
  • จ้างงานผู้พิการตามมาตรา 33 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เป็น 100%
  • ไม่มีการระบุเพศ ศาสนา หรือชาติพันธุ์ ในการรับสมัครงานในตำแหน่งระดับผู้บริหาร และระดับบังคับบัญชา 100%

กลยุทธ์

  1. สร้างคุณค่าขององค์กรเพื่อดึงดูดผู้มีศักยภาพและความสามารถเข้ามาร่วมงาน
  2. ดูแลพนักงานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมเพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กร
  3. พัฒนาความสามารถของพนักงานให้ตอบโจทย์การแข่งขันทางธุรกิจ ทำงานอย่างมีความสุข และทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิผล
  4. สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้พนักงานพัฒนาตนเองตามความสนใจและวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง ด้วยหลักสูตรทั้ง Hard Skill และ Soft Skill ผ่านช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย
  5. สร้างปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยระบบการบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System, LMS) ที่มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน

การบริหารจัดการ

  • มีคณะกรรมการบุคคลแต่ละธุรกิจ (BU Committee) ที่ช่วยดูแลและสนับสนุนให้พนักงานทุกคนได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถตามบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม
  • จัดเตรียมรูปแบบการพัฒนาและเนื้อหาหลักสูตรที่เป็น Flagship Program หรือหลักสูตรในเชิงนโยบาย เช่น ESG Leadership Program, การพัฒนาโดยวิชาชีพต่าง ๆ เป็นต้น รวมถึงการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan) สำหรับพนักงาน Key Talent

ผลการดำเนินการปี 2566

  • พนักงานกลุ่มเป้าหมายในประเทศไทยจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล และดำเนินการเรียนรู้ตามแผนครบทุกคน 100%
  • ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานเทียบกับพนักงานทั้งหมด คิดเป็น 69%
  • ความพึงพอใจของพนักงานทั้งหมด คิดเป็น 65%
  • มีการจ้างงานผู้พิการ เพื่อส่งเสริมความหลากหลายและเท่าเทียม 100% ตามกฎหมาย
  • ไม่มีการระบุเพศ ศาสนา หรือชาติพันธุ์ ในการรับสมัครงานในตำแหน่งระดับผู้บริหาร และระดับบังคับบัญชา 100%

การสรรหาพนักงาน (Talent Recruitment)

จากผลกระทบของโควิด 19 นำมาซึ่งการทำงานในรูปแบบ Work from Home มากขึ้น ธุรกิจต้องมีการปรับตัวโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ ผลที่ตามมาในเชิงบวกนอกจากการที่พนักงานสามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีแล้วนั้น องค์กรยังได้มีโอกาสในการจัดสรรและวางแผนกำลังพลแบบใหม่ให้สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานในอนาคต ที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนเพื่อพัฒนาศักยภาพพนักงาน มากกว่าการเพิ่มในเชิงปริมาณ

การดำเนินงานที่สำคัญ

  • โครงการการมีส่วนร่วมของผู้มีความสามารถในระดับโลก (Talent Engagement Program) จัดงาน Career roadshows และ Career insight ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร เพื่อสรรหาผู้ที่มีความสามารถที่หลากหลาย พร้อมสนับสนุนและส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างทั้งด้านอายุ ชนชั้น เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ทางเพศ ความสามารถทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ
  • โครงการสนับสนุนทุนการศึกษา (Inclusive Scholarship Programs) มอบทุนศึกษาต่อในประเทศจีนและอินเดีย เพื่อสนับสนุนความหลากหลายในด้านทักษะและการศึกษา เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญต่อการไม่แบ่งแยก และตระหนักถึงคุณค่าของความหลากหลายของบุคลากรในอนาคต
  • ให้โอกาสอย่างเท่าเทียมกันในทุกสาขาวิชาชีพ สนับสนุนผู้มีความสามารถที่หลากหลาย มีเจตนารมณ์สร้างสภาพแวดล้อมที่ยอมรับความแตกต่าง ไม่แบ่งแยก มองเห็นคุณค่าและเคารพความแตกต่างของแต่ละบุคคล
  • ใช้แนวทางการจ้างงานแบบ Skilled-basedเพื่อขจัดปัจจัยที่อาจทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติในกระบวนการคัดเลือก เช่น เกรดเฉลี่ย ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย เพศ ปัญหาสุขภาพ เช่น HIV โดยมุ่งเน้นไปที่ทักษะและความรู้ ความสามารถเป็นหลัก
  • ใช้แนวทางการจ้างงานแบบ Skilled-basedเพื่อขจัดปัจจัยที่อาจทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติในกระบวนการคัดเลือก เช่น เกรดเฉลี่ย ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย เพศ ปัญหาสุขภาพ เช่น HIV โดยมุ่งเน้นไปที่ทักษะและความรู้ ความสามารถเป็นหลัก
  • ไม่ระบุเพศในการสมัครงาน ไม่มีการระบุเพศในแบบฟอร์มการสมัครงาน เพื่อให้เกิดการประเมินที่เป็นธรรม โดยพิจารณาจากคุณสมบัติและประสบการณ์ และเปิดรับผู้สมัครที่มีความหลากหลายโดยไม่มีอคติ

การเรียนรู้ภาคปฏิบัติสำหรับนิสิต นักศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยจัดโครงการให้แก่นิสิต นักศึกษาให้มีโอกาสได้เรียนรู้และแก้ไขปัญหาในสถานการณ์จริงผ่าน 3 Flagship Internship Programs ได้แก่
1. Excellent Internship Program
2. Cooperative program
3. Young Talent Program

     โครงการเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อดึงดูดและบ่มเพาะผู้มีความสามารถที่หลากหลาย โดยมอบประสบการณ์และโอกาสในการพัฒนาทักษะที่มีคุณค่าให้แก่ผู้เข้าร่วมที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน

เสริมสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการเสนอให้มีการฝึกงานตั้งแต่ปีแรกของการศึกษา ช่วยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริงและได้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่หลากหลายตั้งแต่เริ่มต้นเส้นทางการศึกษา

  • เพิ่มช่องทางสรรหาผู้มีความสามารถที่หลากหลาย โดยส่งเสริมการสรรหาผู้ที่มีความสามารถที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นผ่านโครงการความร่วมมือระหว่างองค์กร เช่น Samart Skill โดย Google และ SKILLKAMP โดย KBank โดยใช้ทรัพยากรและเครือข่ายในการดึงดูดบุคลากรที่มีทักษะที่หลากหลายในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

การพัฒนาพนักงาน (Talent Development)

เอสซีจีได้ยกระดับและฝึกฝนทักษะแก่พนักงาน (Upskill & Reskill) เพื่อให้สามารถปรับตัวทำงานในรูปแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในสถานที่ปฏิบัติงานที่ผสมผสาน (Hybrid workplace) การปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นในรูปแบบที่หลากหลาย (Hybrid collaboration) และการเสริมสร้างแนวคิดในการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid mindset) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง การจัดรูปแบบการเรียนรู้ที่ผสมผสาน (Hybrid Learning) ทั้งรูปแบบออนไลน์, Digital (e-Learning), Virtual Classroom, Live Learning Session, Site Visit, Workshop Simulation, Coaching การเรียนรู้ผ่านการจัดทำโครงการ (Project Assignment) และการจัดการเรียนรู้ที่รองรับพนักงานเข้าอบรมที่สำนักงานและเรียนผ่านออนไลน์ได้พร้อมกัน โดยยังคงไว้ซึ่งการเรียนรู้แบบผสมผสาน 70:20:10 นอกจากนี้้ เอสซีจียังคงจัดทำ “แผนพัฒนาส่วนบุคคล” สำหรับพนักงานเป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเรียนรู้แบบดิจิทัลและแบบ Live จากวิทยากรภายใน และภายนอกเอสซีจี การ coaching, on-the-job training, job shadowing, special projects, assignment พร้อมทั้งการ Mentoring โดยพนักงานสามารถเลือกพี่เลี้ยงด้วยตนเอง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าพนักงานทุกคนจะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ

สำหรับพนักงานเข้าใหม่ เอสซีจีมีระบบพี่เลี้ยงส่วนบุคคลในการให้คำปรึกษา หรือข้อเสนอแนะ เพื่อส่งเสริมให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัว ในสภาพแวดล้อมของความหลากหลาย และเริ่มทำงานได้อย่างราบรื่น

โครงการพัฒนาพนักงาน (Employee Development Programs)

Business and Leadership for Managers
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถที่จำเป็นสำหรับ First Line Managers และ Manager of Managers และเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้บริหารซึ่งเป็นกำลังสำคัญของเอสซีจีในการรับมือกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต Management Development Program (MDP) และ Management Acceleration Program (MAP) ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับข้อมูลสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบัน โดยเพิ่มกระบวนการ Design Thinking และ Agile process ซึ่งเน้นการใช้กระบวนการคิดเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกจากปัญหาของลูกค้าและการใช้ความคิดสร้างสรรค์และมุมมองที่หลากหลายเพื่อสร้างแนวคิดในการแก้ปัญหาที่เชื่อมโยงกับธุรกิจ จากนั้นจึงทดสอบและพัฒนาเพื่อให้ได้แนวทางหรือ นวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ:

กำไรเพิ่มขึ้น 1,960 ล้านบาท
สูงกว่าค่าใช้จ่ายในการจัดอบรม 21.02 เท่า
จำนวนผู้เข้าร่วม 538 คน

กรณีตัวอย่าง: โซลูชันเสาคานคอนกรีตสำเร็จรูปซีแพค (CPAC Precast Column & Beam Solution) ซึ่งผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างเสาและคานคอนกรีตสำเร็จรูปจากโรงงาน จากนั้นจึงนำไปติดตั้งที่หน้างาน

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ: 

สร้างยอดขายกว่า 100 ล้านบาท
ลดวัสดุเหลือทิ้งลงอย่างน้อย 90%
Integrated Business Excellence Program (IBE)
Integrated Business Excellence Program (IBE) ออกแบบมาเพื่อสร้างความร่วมมืออย่างบูรณาการระหว่างการดำเนินงาน/ ผลิต ห่วงโซ่คุณค่า และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ในการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรเพื่อให้เกิดประสิทธิผล และความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมนี้ประกอบด้วย Technical Model, Capability Building รวมถึง Culture และ Mindset ซึ่งออกแบบตามแนวทางการเรียนรู้แบบผสมผสาน (70: Project assignment และ OJT, 20: Sharing, Coaching, Mentoring และ 10: Formal Learning Program) ผ่านการออกแบบกระบวนการจัดการ (Managing Process) เพื่อบรรลุความเป็นเลิศทางธุรกิจ

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ:

จำนวนผู้เข้าร่วม 2,204 คน                                           
มูลค่าทางธุรกิจ 4,102.2 ล้านบาท

Human Capital Return on Investment (HC ROI): 0.979

รายได้จากการขายทั้งหมด569,609 ล้านบาท
ต้นทุนและค่าใช้จ่ายทั้งหมด570,620 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพนักงานทั้งหมด (เงินเดือนและผลประโยชน์)49,033 ล้านบาท

การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Type of Performance Appraisal) เอสซีจีมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

การบริหารจัดการตามวัตถุประสงค์ (Management by objectives)

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เอสซีจีได้ทำ “ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management System)” เพื่อนำกรอบการบริหารจัดการตามวัตถุประสงค์มาใช้ และให้มั่นใจว่าบุคลากรทั่วทั้งองค์กร มีความสอดคล้องและมีส่วนร่วมตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของวิสัยทัศน์เอสซีจี เพื่อให้ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานผนวกเป็นส่วนหนึ่งในพฤติกรรมการทำงานของพนักงานอย่างต่อเนื่อง เอสซีจีได้กำหนดวิธีการที่หลากหลายในการติดตามเชิงคุณภาพ ดังนี้

  • การตั้งเป้าหมาย: พนักงานแต่ละคนจะวางแผนและดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่สอดคล้องกับหัวหน้างานและวิสัยทัศน์ขององค์กร นำไปสู่ความมั่นใจในผลลัพท์ทางธุรกิจ
  • การพูดคุยเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงาน: การพูดคุยเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการเป็นรายไตรมาส ถูกกำหนดขึ้นเป็นประจำเพื่อให้พนักงานทุกคนทบทวนผลการปฏิบัติงานกับหัวหน้างาน ดังนั้นพนักงานจึงสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อผลลัพธ์ขององค์กรที่ดียิ่งขึ้น
  • การประเมินผลการปฏิบัติงาน: เอสซีจีจัดให้มีการชมเชยและการให้รางวัล เพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานที่มีผลงานที่ยอดเยี่ยม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมผลการปฏิบัติงานของพนักงานให้ดียิ่งขึ้น และเพิ่มศักยภาพในการประเมินผลงาน

ความถี่: มีการกำหนดเป้าหมายเป็นประจำทุกปี โดยสามารถทบทวนตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี

การประเมินผลการปฏิบัติงานหลายมิติ (Multidimensional performance appraisal)

เอสซีจีใช้ 360-degree feedback เพื่อช่วยให้พนักงานได้รับทราบจุดแข็งและโอกาสในการปรับปรุงจากผู้อื่นรวมถึงผู้บังคับบัญชาโดยตรงของพนักงาน แต่ละคนจะได้รับการประเมินทั้ง Soft skill และ Hard skill เช่น ทักษะการฟัง Strategic Formulation & Growth Mindset และ Organizational & Performance Transformation เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานจะสามารถยกระดับตนเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในทีมและสายงานอื่น แสวงหาโอกาสใหม่ ๆ และผนวกความคิดที่เป็นนวัตกรรมใหม่และบูรณาการการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งธุรกิจ

ความถี่: ปีละครั้ง

การประเมินผลแบบทีม (Team-based appraisal)

เอสซีจีกำหนด “กระบวนการกระจายตัวชี้วัดที่สำคัญ” เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมกับธุรกิจและเป้าหมายของทีม พนักงานจะเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของธุรกิจ โดยมีการกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกับทิศทางธุรกิจ เป้าหมายของสายงานและเป้าหมายของทีม การบรรลุเป้าหมายส่วนบุคคลนั้นไม่จัดว่าพนักงานมีผลงานที่ยอดเยี่ยม แต่พนักงานต้องมีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมในความสำเร็จของทีมที่เรียกว่า “Team Centric”

ความถี่: ปีละครั้ง

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบ Agile (Agile conversations)

เราสนับสนุนให้ผู้บริหารและสมาชิกในทีมทบทวนตนเอง (Self-review) และทบทวนโดยผู้บริหาร (Manager review) เพื่อให้ข้อเสนอแนะและการสนับสนุนต่อผลงานของแต่ละบุคคลและทีม โดยเน้นไปที่การทำงานร่วมกัน ความเป็นผู้นำ และการทำงานเป็นทีม แนวทางนี้คือ “การบริหารผลงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous performance management: CPM)” เพื่อติดตามและสนับสนุนในเวลาที่ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

ความถี่: ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

การรักษาพนักงาน (Talent Retention)

เอสซีจีให้ความสำคัญกับการรักษาพนักงานในองค์กร จัดให้มีสวัสดิการ และระบบการบริหารค่าตอบแทนที่สามารถจูงใจและดึงดูดพนักงานที่มีศักยภาพ (Talent) เข้ามาร่วมงาน และส่งเสริมขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้กับองค์กร ซึ่งจะผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจหน้าที่ ส่งผลให้พนักงานมุ่งมั่นพัฒนาทักษะความสามารถของตนให้มีความพร้อมและเห็นถึงความก้าวหน้าในอาชีพ

การดำเนินงานที่สำคัญ

  • จัดหาอุปกรณ์และเครื่องใช้สำนักงานที่เหมาะกับสรีระ เพื่อช่วยให้พนักงานทำงานนอกสถานที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เงินช่วยเหลือค่าสมาชิกอินเทอร์เน็ต เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับพนักงาน
  • การดูแลสุขภาพของพนักงานกรณีโควิด 19 มีการตรวจเชิงรุกอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมทันทีพร้อมจัดที่พักในโรงงาน การทดสอบ ATK การอำนวยความสะดวกด้านการฉีดวัคซีน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ปรึกษากับแพทย์ได้ทางโทรศัพท์ (Tele-med) และจัดมอบกล่องบรรจุสิ่งจำเป็นเมื่อต้องดูแลตนเองอยู่ที่บ้าน
  • ทบทวนนโยบายและแนวทางการกลับเข้าทำงาน กำหนดรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น ออกแบบสถานที่ทำงานในรูปแบบใหม่ พื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกัน (Co-working Spaces /Collaboratives Zones) ฯลฯ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคระบาดโควิดที่เริ่มผ่อนคลายลง
  • มีการทบทวนและให้ความช่วยเหลือ “ค่าครองชีพ” แก่พนักงานเป็นกรณีพิเศษเนื่องจากสถานการณ์ค่าครองชีพและเงินเฟ้อที่สูงขึ้น โดยได้จ่ายเงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นเงินก้อนครั้งเดียวแก่พนักงานทุกคนจนถึงพนักงานจัดการระดับต้น และจะมีการพิจารณาความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องตามความเหมาะสม
  • ส่งเสริมสุขภาพเชิงป้องกัน เช่น สถานที่ออกกำลังกาย กิจกรรมด้านสุขภาพของชมรมพนักงาน การจัดเวิร์คชอร์ปให้ความรู้ด้านสุขภาพ การจัดฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ การตรวจสุขภาพประจำปี และการทดสอบสมรรถภาพร่างกายอย่างต่อเนื่อง
  • จัดให้มีระบบ Caring Check ที่พนักงานสามารถสอบถาม เปิดเผย ให้หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับ สภาวะทางจิตใจของตนเอง ระบบ Doctor Anywhere การให้คำปรึกษาจากจิตแพทย์ และนักจิตวิทยา ผ่านทางออนไลน์ และจัดให้มีจิตแพทย์ประจำ Health Care Center เพื่อนัดหมายเข้าพบได้อีกด้วย
  • สวัสดิการที่จัดให้เพื่อดูแลพนักงานในระยะยาว ได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลักสูตรการจัดการเงิน การดูแลสุขภาพ โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุ และสโมสรของพนักงานที่เกษียณอายุ เพื่อให้พนักงานสามารถใช้ชีวิตในการทำงานได้อย่างมีคุณภาพและมีความมั่นคง ทั้งด้านการเงินและด้านสุขภาพที่ดี
  • นำสวัสดิการแบบยืดหยุ่น (Flexible Benefits) ที่เปิดทางเลือกให้พนักงานเลือกใช้สวัสดิการที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล โดยการริเริ่มดังกล่าวเป็นการส่งเสริมให้พนักงานมีความผูกพันกับบริษัท และสามารถตอบสนองต่อลักษณะการทำงานแบบ “Hybrid Workplace” ได้เป็นอย่างดี
  • สนับสนุนการรวมกลุ่มและระดมสมองของพนักงานที่มีความหลากหลาย เพื่อเพิ่มความสามารถในการสร้างสรรค์ความคิดที่ใหม่ ๆ ความสัมพันธ์ที่ดีและเพิ่มความผูกพันในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มจากความชอบด้านกีฬา ดนตรี การท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนี้ เอสซีจียังได้สร้างกลุ่มเครือข่ายของพนักงานหญิงผ่านช่องทางออนไลน์ (Facebook ชื่อกลุ่ม SCG Sis to Sit) เพื่อแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดำเนินชีวิตในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 และทำให้พนักงานเชื่อมโยงถึงกัน

การสร้างประสบการณ์ทำงานที่ดี (Employee Experience)

เอสซีจีให้ความสำคัญในเรื่องความผูกพันของพนักงาน ความพึงพอใจและคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน โดยจัดทำ Engagement Survey ทั่วทั้งองค์กร และนำผลมาปรับปรุง เพื่อดูแลรักษาพนักงานซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าให้อยู่กับองค์กร ซึ่งในการออกแบบการสำรวจ มีการทบทวนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของธุรกิจ มิติสำคัญเรื่องคน ประสิทธิภาพขององค์กร รวมไปถึงแนวโน้มใหม่ๆ ที่อาจกระทบกับธุรกิจอยู่เสมอ ต่อไปองค์กรชั้นนำระดับโลกเริ่มมีการผสมผสานเรื่องแนวคิดการดูแลพนักงานผ่านการสร้างประสบการณ์ที่ดีเข้ามาในเรื่องสร้างความผูกพันพนักงาน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงจากวิธีการทำงานใหม่ Hybrid Workplace การปรับตัวหลังยุคโควิดและเรื่องของกลุ่มพนักงานรุ่นใหม่ส่งผลกระทบต่อแนวคิดเรื่องความผูกพันพนักงาน

(ที่มา: Kincentric Database)

ดังนั้นในการดูแลพนักงานจึงมองเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีแบบองค์รวมมากขึ้น และในการผลักดันแก้ปัญหาจะมุ่งไปที่ 2 ระดับอย่างสม่ำเสมอ คือการดูแลจากผู้บริหารระดับสูงผ่านนโยบาย Top-Down และผู้บังคับบัญชาในการดูแลพนักงานภายในทีมอย่างจริงใจและสม่ำเสมอ

ความพึงพอใจของพนักงาน (Employee Satisfaction)

โดยคำถามของครอบคลุมไปถึงความพึงพอใจในงาน ความมุ่งหวัง ความสุขและความเครียด ตามรายละเอียดด้านล่าง

No.ด้านตัวอย่างคำถาม
1ความพึงพอใจในงานฉันไม่ลังเลที่จะแนะนำองค์กรนี้ให้กับเพื่อนที่กำลังหางาน
2ความมุ่งหวังทิศทางขององค์กรช่วยกำหนดแนวทางการทำงานของฉันอย่างชัดเจน
3ความสุของค์กรสร้างแรงบันดาลใจให้ฉันทำทุกวันให้ดีที่สุด
4ความเครียดฉันสามารถบริหารจัดการความเครียดจากงานได้