การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน

เอสซีจี มีอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและยึดหลักอุดมการณ์ 4 เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจโดยกำหนดเรื่องสิทธิมนุษยชนและแรงงานไว้ในจรรยาบรรณเอสซีจีตั้งแต่ปี 2530 และมีการทบทวนให้เป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับมาตรฐานสากล สะท้อนให้เห็นถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ ครอบคลุมทุกกิจกรรมทางธุรกิจของเอสซีจี (Direct Activity) รวมถึงกิจกรรมของคู่ค้า คู่ธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่า (Supplier/ Contractor in Business Value Chain) และผู้ร่วมธุรกิจ (Joint Venture)

จากการควบรวม และขยายธุรกิจในต่างประเทศ เอสซีจีจึงมุ่งมั่นยกระดับการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้งบริษัทที่เอสซีจีบริหารจัดการ คู่ค้า คู่ธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า รวมทั้งการลงทุนใหม่ทั้งในและต่างประเทศ

นอกจากนี้ ยังเข้าร่วมกับข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) ตั้งแต่ปี 2012 และยังคงเสริมสร้างการดำเนินงานและรายงานสอดคล้องตาม The United Nations Global Compact (UNGC) Communication on Progress ในระดับ Advanced เป็นประจำทุกปี

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในจรรยาบรรณเอสซีจี เรื่องสิทธิมนุษยชนและแรงงาน หน้า 17-19 และจรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี

เป้าหมาย

  • จำนวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นศูนย์
  • สัดส่วนพนักงานหญิงในระดับจัดการเป็น 27% ในปี 2568
  • 100% ของพนักงานผ่านการอบรมและทดสอบด้านสิทธิมนุษยชนผ่าน Ethics e-Testing

กลยุทธ์

  1. บูรณาการการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน การบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคลให้เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ ตลอดห่วงโซ่คุณค่าทั้งในและต่างประเทศ
  2. เสริมสร้างคุณค่า พัฒนา และต่อยอดโครงการการมีส่วนร่วมที่ยึดหลักการเคารพสิทธิมนุษยชน ให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่า และสังคมโดยรวม
    • พนักงาน: การเคารพสิทธิเป็นหลักพื้นฐาน และยกระดับการบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างในองค์กร
    • คู่ธุรกิจ: มุ่งเน้นการลดความเสี่ยงในการละเมิด และยกระดับคุณภาพชีวิตในสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านแรงงาน สุขภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดี
    • คู่ค้า: ยกระดับกระบวนการจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า
    • ชุมชน: สร้างการมีส่วนร่วมโดยยึดหลักการเคารพในสิทธิพื้นฐาน และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี
    • ลูกค้า: ส่งมอบสินค้า บริการ และโซลูชันที่มีคุณภาพ ความปลอดภัย ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐาน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี
    • ผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ: บริหารจัดการความเสี่ยงสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งจากการละเมิดโดยตรง การมีส่วนร่วมในการละเมิด หรือมีความเกี่ยวข้องจากกิจกรรมของเอสซีจี ตลอดห่วงโซ่คุณค่า
  3. เป็นต้นแบบ แบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนร่วมกับองค์กรอื่น

การบริหารจัดการ

  1. ประกาศและทบทวนนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน นโยบายด้านการบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคลที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลว่าด้วยข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) หลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) ปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และข้อกำหนดสากลอื่นๆ และขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติผ่านคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี 
  2. กำหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงเป็นแนวทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร และดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Process) ผ่านการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องโดยเน้นการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  3. กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด เพื่อติดตามผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
  4. มีกลไกการรับและตอบสนองต่อข้อร้องเรียน รวมถึงกำหนดมาตรการในการเยียวยาผลกระทบผ่านการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย กรณีเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  5. สื่อสาร อบรม เพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจแก่พนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่อง

การบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน

เอสซีจีมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่างเคร่งครัดตามหลักการของ United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: (UNGPs) 3 ประการ ดังนี้

ในปี 2566 คณะทำงาน Human Rights and Stakeholders Engagement ได้ทบทวนกรอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งแนวปฏิบัติการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

โครงการการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน

พนักงาน

  • “สร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานอย่างเข้าใจ” โดยร่วมมือกับบริษัทที่ปรึกษาภายนอก ทำความเข้าใจในเชิงลึกถึงประสบการณ์และความต้องการของพนักงานที่มีความหลากหลายโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้หญิง คนพิการ ผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) และศาสนา เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลในการจัดทำโครงการ และสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การบริหารจัดการความเสี่ยงสิทธิมนุษยชน
    • การคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ มีการพัฒนาพนักงานที่ครอบคลุมทั้งทักษะการปฏิบัติงานและด้านความปลอดภัย และจัดสวัสดิการที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ เช่น การรักษาพยาบาล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการสื่อสารโดยจัดให้มีล่ามแปลภาษา หรือจัดทำภาษาท้องถิ่นเพิ่มเติมในการสื่อสารที่สำคัญต่าง ๆ เช่น ประกาศ/ คำสั่ง การให้ข้อมูลข่าวสารเรื่องความปลอดภัยและสวัสดิการที่พึงได้รับ รวมถึงการเข้าถึงช่องทางการร้องเรียนเรื่องต่าง ๆ ภายใต้ระบบการบริหารงานเดียวกันของเอสซีจี
    • สุขภาพและความปลอดภัย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทาง Website: https://www.scgsustainability.com/th/health-and-safety/
  • การฝึกอบรม พัฒนาความรู้เพื่อส่งเสริมความหลากหลายและยอมรับความแตกต่าง
    • โครงการ ESG Leadership Program การอบรมและให้ความรู้แก่พนักงาน เพื่อสร้างความเข้าใจและปลูกฝังจิตสำนึกด้าน ESG ที่ครอบคลุมเรื่องสิทธิมนุษยชน ความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่างของบุคคลและรูปแบบของการเลือกปฎิบัติ และการคุกคามในสถานที่ทำงานให้กับกลุ่มผู้นำในอนาคตของเอสซีจี และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • Flagship programs โปรแกรมที่พัฒนาพนักงานในแต่ละระดับ และหลักสูตรที่พัฒนาพนักงานตามวิชาชีพและตามบทบาทหน้างาน ตลอดจนเสริมสร้างความตระหนักและความเข้าใจในความหลากหลายและยอมรับความแตกต่าง และความเท่าเทียม เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
    • จัดให้มี BE YOU Club การรวมกลุ่มของพนักงานเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดรับความหลากหลาย ซึ่งทุกคนสามารถแบ่งปันเรื่องราวสะท้อนจุดยืนความเป็นตัวตน และจัดกิจกรรม Live Talk ในหัวข้อ “เธอกับฉันกับฉัน เราอยู่กันเว้รี่แฮปปี้” เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจในการยอมรับความแตกต่าง หลากหลาย สนับสนุนให้พนักงานทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข นอกจากนี้ มีช่องทางในการแนะนำและให้คำปรึกษาโดย ไลฟ์โค้ช และ SCG Diversity Committee
    • มีการสื่อสารความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน (Basic knowledge) ให้พนักงานทุกระดับมีความรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น เช่น การล่วงละเมิด การเลือกปฏิบัติ ความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง เป็นต้น ผ่านหลายช่องทาง เช่น E-Mail, One page, Signage, VDO เป็นต้น

คู่ค้า คู่ธุรกิจ

เอสซีจีวางแผนการดำเนินการร่วมกับคู่ธุรกิจเพื่อยกระดับศักยภาพคู่ธุรกิจ ด้วยการส่งเสริมและบูรณาการแนวปฏิบัติด้านจริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

  • ในปี 2565 มีการปรับปรุงเนื้อหาจรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจีให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน แนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของเอสซีจี และครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น อาทิ อิสระในการรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรองและการตรวจสอบ ดูแลการละเมิดสิทธิมนุษยชน และสื่อสารให้คู่ค้า คู่ธุรกิจมีความเข้าใจในเจตนารมณ์ และแนวทางการดำเนินธุรกิจร่วมกัน จึงได้จัดงาน Supplier Day เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ซึ่งมีการบรรยายเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในหัวข้อที่สำคัญ และสนับสนุนการบูรณาการเรื่อง ESG เข้าไปในการดำเนินงานของคู่ธุรกิจ
  • การประเมินความเสี่ยงสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่คุณค่า โดยประยุกต์ใช้กรอบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรและดำเนินการตาม “กรอบการดำเนินงานด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน เอสซีจี” ซึ่งครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) ในปี 2566 คู่ธุรกิจ 100% ของมูลค่าการจัดหาผ่านกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG
  • พัฒนาระบบ Supplier Portal เพื่อใช้ในการบริหารจัดการคู่ค้า คู่ธุรกิจ ส่งเสริมกระบวนการตรวจประเมินในประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านสิทธิมนุษยชน เป็นช่องทางในการสื่อสาร รวมถึงการเข้าถึงระบบรับข้อร้องเรียน
  • การพัฒนาความรู้ ความสามารถ จัดทำแผนพัฒนาและยกระดับความรู้ ความสามารถในการดำเนินงานของคู่ธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่ครอบคลุมด้านสิทธิมนุษยชน เช่น การบริหารจัดการความปลอดภัยคู่ธุรกิจ โครงการพัฒนาคู่ธุรกิจขนส่ง และการบริหารความปลอดภัยสำหรับงาน Service Solutions
  • การติดตามและการตรวจประเมิน
    • 94% คู่ธุรกิจตามมูลค่าการจัดหาแสดงความมุ่งมั่นปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ธุรกิจของเอสซีจี
    • 100% คู่ธุรกิจขนส่งประจำได้รับการตรวจประเมิน

ผู้ร่วมธุรกิจ

เอสซีจีมุ่งหวังและส่งเสริมให้ผู้ร่วมธุรกิจ (Joint Ventures) ที่เอสซีจีไม่มีอำนาจในการบริหารสนับสนุนและเน้นย้ำถึงความสำคัญของความมุ่งมั่นต่อสิทธิมนุษยชน โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

  • การประเมินความเสี่ยงสิทธิมนุษยชน โดยทบทวนแบบสอบถามด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อติดตามสถานะการดำเนินงานเป็นประจำทุกปี และวางแผนร่วมกันในการให้การสนับสนุนการดำเนินงานจากเอสซีจี
  • การพัฒนาความรู้ ความสามารถ มีการจัดอบรมให้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนโดยบริษัทที่ปรึกษาภายนอก และแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานร่วมกับเอสซีจี
  • การติดตามและการตรวจประเมิน 100% ผู้ร่วมธุรกิจ* ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

หมายเหตุ: * หมายถึง ผู้ร่วมธุรกิจที่เอสซีจีถือหุ้น ≥ 10%

ชุมชน

สร้างโอกาสการศึกษา พัฒนาอาชีพมั่นคง เสริมสุขภาวะที่ดี เอสซีจีตั้งเป้าหมายลดความเหลื่อมล้ำ 50,000 คน ภายในปี 2573 ผ่านการดำเนินงาน ดังนี้

ด้านอาชีพ สร้างอาชีพในห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจเอสซีจี
“โรงเรียนทักษะพิพัฒน์” ร่วมกับภาคีเครือข่ายพัฒนาทักษะด้านการขับขี่ ร่วมลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนน สร้างอาชีพแก่ผู้ว่างงานและทหารปลดประจำการ
“Q-CHANG” คิวช่าง ผู้นำแพลตฟอร์มศูนย์รวมช่างที่มุ่งยกระดับมาตรฐานฝีมือช่างผ่านการอบรมเสริมทักษะจากศูนย์ฝึกอบรมช่าง (Q-CHANG Academy) พัฒนาทักษะอาชีพช่างอิสระ สร้างแต้มต่อจากการพัฒนาทักษะให้ดีกว่าเดิม (Upskill) และสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงาน (Reskill) เพื่อต่อยอดไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น
“โครงการพลังชุมชน” ส่งเสริมชุมชนให้เห็นคุณค่าและพัฒนาศักยภาพตนเอง แปรรูปเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เข้าใจลูกค้าและตลาดก่อนผลิตและจำหน่าย บริหารจัดการความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกัน อาชีพมั่นคง และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ด้านการศึกษา
•มอบทุนการศึกษา Sharing the Dream ในประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และ สปป. ลาว มุ่งสนับสนุนเยาวชนที่ตั้งใจเรียน มีความประพฤติดี และมีจิตอาสา •โครงการ “Learn to Earn” โดยมูลนิธิเอสซีจีร่วมกับเครือข่าย พัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็น ทั้งทักษะอาชีพ (Hard skill) และทักษะทางสังคม (Soft skill) รวมถึงสร้างทักษะอาชีพที่คาดการณ์ว่ามีความต้องการสูงในอนาคต (Future skill) อาทิ นักพัฒนาโปรแกรม ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ นักบริบาลชุมชน

ด้านสุขภาวะ ส่งเสริมให้กลุ่มเปราะบางเข้าถึงบริการสาธารณสุข
โครงการแพทย์ดิจิทัลดูแลผู้ป่วยทางไกล ผ่าน DoCare นวัตกรรมเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีผ่านระบบ Tele-monitoring ระบบติดตามสุขภาพเก็บข้อมูลอย่างแม่นยำและต่อเนื่อง และ Telemedicine ระบบปรึกษาแพทย์ทางไกล
โครงการ “ราษฎรสุขใจ พลานามัยสมบูรณ์” แพทย์พระราชทานร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์และภาคีเครือข่าย นำคณะจักษุแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและอุปกรณ์เครื่องมือการรักษาที่ทันสมัยให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคต้อกระจก เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ที่ไม่สามารถเข้าถึงการรักษา

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในรายงานประจำปี 2566 หน้า 108-110

รางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565

เอสซีจีได้รับรางวัล “องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี 2566 ระดับดีเด่น ประเภทองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม

เข้าร่วมเป็นสมาชิก The Sedex Members Ethical Trade Audit (SEDEX)

SCGP เข้าร่วมเป็นสมาชิก The Sedex Members Ethical Trade Audit (SEDEX) ตั้งแต่ปี 2562 เป็นองค์กรที่รวมกลุ่มสมาชิกองค์กรธุรกิจทั่วโลก ซึ่งสมาชิกต้องมีระบบการบริหารจัดการอย่างมีจริยธรรมต่อพนักงานและแรงงานตามข้อกำหนดของ SEDEX ใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ มาตรฐานแรงงาน สุขภาพและความปลอดภัย จริยธรรมทางธุรกิจ และสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมทั้งภายในบริษัทของตนเองและคู่ธุรกิจ

2566 มี 12 บริษัทย่อยดำเนินการตามข้อกำหนด SEDEX และผ่านการตรวจประเมินจากผู้ตรวจประเมินภายนอก

เอกสาร DOWNLOAD

SCG Human Rights Expectation Letter
นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
นโยบายด้านการบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคล
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
นโยบายและแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย
SCG Human Rights Due Diligence
ประกาศเจตนารมณ์ “ การส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
จรรยาบรรณเอสซีจี
จรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี
WBCSD CEO Guide to Human Rights 2020