การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน
จากปัญหาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนที่รุนแรงมากขึ้น ต้องการความร่วมมือจากทุกประเทศในความพยายามการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และพัฒนานวัตกรรมในการดึงกลับคาร์บอน (Carbon removal) โดย SCG ได้กำหนดเป้าหมายในการลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก เพื่อสนับสนุนความตกลงปารีส เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียส และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 การดำเนินการที่เคร่งครัด โปร่งใสและตามแนวทางการดำเนินการของระดับสากล ในแต่ละธุรกิจที่มี เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SCG ได้มีการนำ Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) มาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ
Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD)
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหัวข้อสำคัญเป็น 1 ใน 3 ของกลยุทธ์ของ SCG โดยการนำ TCFD มาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจตั้งแต่ปี 2562 มีการทบทวนโครงสร้างขององค์กร ผลการดำเนินการ เช่น คณะกรรมการกำกับ กลยุทธ์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน การจัดการความเสี่ยง และเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง และการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การกำกับดูแล (Governance)
SCG นำ TCFD มาใช้เป็นกรอบในการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่ระดับบริหารสูงสุด จนถึงระดับผู้ปฏิบัติงาน เช่น The คณะกรรมการบริษัท (Board), President & CEO, คณะกรรมการพัฒนาอย่างยืน(Sustainable Development Committee; SDC), คคคณะกรรการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน (Climate Change & Energy Committee), คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) และกลุ่มธุรกิจ
- คณะกรรมการบริษัท (Board) เป็นผู้กำหนดและตัดสินใจทิศทางการดำเนินงานขององค์กร ที่รวมถึงประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และถ่ายทอดไปสู่ President & CEO
- President & CEO เป็นผู้นำในการไปสู่เป้าหมายที่ท้าทาย ของทุกกลุ่มธุรกิจ ในการไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ การกำหนดเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ที่สอดคล้องกับความตกลงปารีส และเป้าหมายของประเทศ (NDC) ที่ SCG มีธุรกิจอยู่ โดยการสนับสนุนการลงทุนและการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เช่น ราคาคาร์บอนภายในองค์กร (Internal Carbon Pricing ; ICP) เพื่อให้โครงการด้านสิ่งแวดล้อม การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
- คณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้ทิศทางการดำเนินงานระดับสากล, ESG, กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน การสร้างเครือข่าย เช่น WBCSD, UNGC, Ellen MacArthur Foundation, GCCA และการติดตามผลการดำเนินงานของ SCG เทียบกับระดับสากล
- คณะกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน รับผิดชอบโดยตรงกับการดำเนินงานในการกำหนดกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แผนการไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero pathway) แผนรองรับความเสี่ยงในช่วงการเปลี่ยนถ่าย (Transition risk) และความเสี่ยงด้านกายภาพ (physical risk) แผนการปรับตัว การทำ R&D การสร้างความร่วมมือทั้งในระดับสากลและระดับประเทศเพื่อนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น CCU/S, Energy storage, Hydrogen energy sources.
- คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง รับผิดชอบในการสร้างระบบและวัฒนธรรมการประเมินความเสี่ยงและการจัดการที่จะมีผลกระทบต่อ SCG.
SCG ได้ประกาศเป้าหมายในการไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 โดยอยู่ระหว่างการยื่นเป้าหมายกับ Science Based Target (SBT) ในการกำหนดเป้าหมายแบบ well below 2C (WB2C).
กลยุทธ์หลัก (Strategy)
SCG ได้ประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหัวข้อสำคัญกับองค์กร (materiality) คณะกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน ได้กำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานที่สำคัญ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งในแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวเพื่อมุ่งสู่ net zero 2050
- เพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลและพลังงานทดแทนเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
- ปรับปรุงและเปลี่ยนกระบวนการผลิต เครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- พัฒนาและวิจัย เทคโนโลยี เพื่อมุ่งสู่ net zero
- พัฒนาสินค้าและบริการ ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่คุณค่า (value chain)
- นำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ มาช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- ปลูก และดูแลป่าไม้ ทั้งป่าบก ป่าชายเลน หญ้าทะเล เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศ
- สร้างความรู้ความตระหนักการอนุรักษ์พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับพนักงาน คู่ธุรกิจ และผู้มีส่วนไดเสียที่เกี่ยวข้องกับ SCG
- ประยุกต์ใช้ราคาคาร์บอนภายในองค์กร (ICP) ที่ 25 USD/ton CO2 มาสนับสนุนโครงการที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ SCG
SCG ได้สร้างระบบการชี้บ่ง (identify) การประเมิน(assess) ทั้ง transition risks และ physical risks โดย SCG พิจารณาเห็นว่ามีทั้งความเสี่ยงและโอกาส
- ความเสี่ยง (Risks) เช่น กฎหมาย ข้อกำหนดทางการค้า น้ำท่วม น้ำแล้ง ความต้องการของลูกค้า และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
- โอกาส (Opportunities) เช่น การสร้างเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ (low carbon products) การลงทุนหรือธุรกิจใหม่ๆ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าชีวมวล การทำระบบการกักเก็บพลังงาน
การจัดการความเสี่ยง (Risk Management)
SCG มีการกำหนดกระบวนการในการบ่งชี้ (identify) ประเมิน (assess) และการจัดการประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกายภาพ (physical risks) ความเสี่ยงช่วงการเปลี่ยนถ่าย (transition risks) และแผนการปรับตัว (adaptation plan) ทั้งในช่วงปัจจุบัน ระยะกลางและระยะยาว ทั้งนี้ SCG ได้มีระบบการประเมินความเสี่ยงสำหรับทุกหน่วยบริษัท ให้มีการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วม น้ำแล้ง โดยให้มีการปะเมินอย่างน้อยไตรมาส หรือเมื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
Metrics and Targets
SCG ได้มีการเปิดเผยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก scope 1 และ 2 ในรายงานประจำปี และบนเวปไซด์ สำหรับข้อมูล GHG scope 3 ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูล ตามแนวทางของ GHG scope 3 protocol ของ WBCSD/WRI หรือตามอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
Target
- การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างน้อย 20% ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2563
- ลดการใช้พลังงานลงอย่างน้อย 13% ภายในปี 2568 เมื่อเทียบกับกรณีปกติ (BAU) ปีฐาน 2550
ผลการดำเนินงาน 2565 (Metric)
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 12.05% เมื่อเทียบกับปีฐาน 2563
- ลดการใช้พลังงานลงอย่างน้อย 6.73% เมื่อเทียบกับกรณีปกติ (BAU) ปีฐาน 2550
- สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงทดแทน 18.96%
Green Logistics
เอสซีจีพัฒนา “Green Supply Chain” เพื่อสร้างความยั่งยืนให้บริการด้านโลจิสติกส์ ทั้งต่อลูกค้า ชุมชน และคู่ธุรกิจขนส่งโดยนำระบบ Total Quality Management มาใช้ในองค์กรอย่างทั่วถึง จนได้รับรางวัล Deming Prize และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 8,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี จากปริมาณการขนส่งรวม 38 ล้านตัน ใช้หลักการบริหารคือ Backhaul Logistics Operation บริหารรอบรถบรรทุกสินค้าไปและกลับ ลดการขนส่งเที่ยวเปล่า Multi-modal บริหารการขนส่งสินค้าล็อตใหญ่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง เป็นต้น


เอกสารดาวน์โหลด