ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศต่อความยั่งยืนของโลก เป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ กำลังส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อสมดุลในธรรมชาติและการดำรงชีวิตของมนุษย์ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเอสซีจีจึงมุ่งมั่นตั้งใจในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนและนำดัชนีชี้วัดที่เป็นสากลมาใช้ประเมินคุณภาพของการบริหารจัดการ เพื่อให้เอสซีจีเป็นองค์กรต้นแบบด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 

เป้าหมาย 

ธุรกิจซีเมนต์เเละผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง 

  • สร้างสมดุลนิเวศเชิงบวก (Net Positive Impact) ในพื้นที่หลังปิดเหมืองหินปูน โดยเริ่มเหมืองแรกในปี 2595 
  • ภายในปี 2565 ดัชนีความคล้ายคลึงในพื้นที่ฟื้นฟูเหมืองหินปูนต้องใกล้เคียงกับในพื้นที่ป่าธรรมชาติที่เป็นป่ากันชน (Similarity Index) ที่ระดับมากกว่า 60% 

SCGP (ธุรกิจแพคแกจจิ้ง) 

  • มีพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน FSC อย่างน้อย 10% ของพื้นที่สวนป่า 

กลยุทธ์ 

  • บริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนโดยมีตัวชี้วัดที่เป็นสากล 
  • สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนและผู้มีส่วนได้เสียเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ 
  • เป็นต้นแบบด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆ 

ผลการดำเนินการ ปี 2564 

ธุรกิจซีเมนต์เเละผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เหมืองหินปูนทั้ง 4 แห่งในประเทศไทย 

  • มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ครบ 100% 
  • จัดทำแผนการจัดการความหลายทางชีวภาพครบ 100% 
  • ทำการฟื้นฟูเหมืองในส่วนที่ไม่ได้ทำเหมือง 212 เฮกเตอร์ คิดเป็น 9.3% ของพื้นที่ๆ เปิดการทำเหมือง 

SCGP (ธุรกิจแพคแกจจิ้ง) 

  • พื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ FSC มี 1,552.5 ไร่ คิดเป็น 14% ของพื้นที่สวนป่า 

เอกสารดาวน์โหลด

Quarry Rehabilitation and Biodiversity Policy
SCG BIODIVERSITY MANAGEMENT PLAN
Quarry Rehabilitation and Biodiversity Policy
SCG BIODIVERSITY MANAGEMENT PLAN
SCG Biodiversity Exposure and Assessment
SCG Maetan Model