สำหรับเอสซีจี ความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำเป็นประเด็นสำคัญในการดำเนินธุรกิจ อย่างยั่งยืน ดังนั้นเอสซีจีให้ความสำคัญต่อการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนสู่คู่ธุรกิจ เอสซีจีใส่ใจตั้งแต่การคัดเลือกคู่ธุรกิจที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม มีความเป็นมืออาชีพ พร้อมปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความยั่งยืนภายใต้แผนบริหารจัดการความเสี่ยง สร้างโอกาสที่เกิดขึ้นร่วมกันภายใต้ระบบการติดตาม ตรวจประเมินอย่างมีประสิทธิภาพกับเอสซีจี

เป้าหมาย

  • คู่ธุรกิจ 95% ของมูลค่าจัดหาลงนามตามจรรยาบรรณคู่ธุรกิจของเอสซีจีภายในปี 2566
  • คู่ธุรกิจ 100% ของมูลค่าการจัดหามูลค่ามากกว่า 1 ล้านบาท ผ่านกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG
  • 100% คู่ธุรกิจในกระบวนการผลิตผ่านการรับรองความปลอดภัยตั้งแต่ปี 2555 ต่อเนื่องไปทุกปี

กลยุทธ์

 1. คัดเลือกและตรวจประเมินคู่ธุรกิจที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

คัดเลือกคู่ธุรกิจโดยคำนึงถึงความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ธุรกิจ และศักยภาพในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน จัดการตรวจประเมินและให้การรับรองคู่ธุรกิจทุกรายเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อลดความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน

 2ประเมินความเสี่ยงและการจัดกลุ่มคู่ธุรกิจ

วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและประเมินความเสี่ยงด้านธุรกิจ ควบคู่กับด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) โดยจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของเอสซีจี และนำผลมาจัดกลุ่มคู่ธุรกิจเพื่อกำหนดกลยุทธ์และวางแผนพัฒนาคู่ธุรกิจให้สอดคล้องกับความเสี่ยง

 3. พัฒนาและยกระดับศักยภาพคู่ธุรกิจสู่ความยั่งยืน

จัดทำแผนพัฒนาและยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความเสี่ยง และต่อยอดพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของคู่ธุรกิจให้พร้อมเติบโตไปกับเอสซีจี

 4. สร้างความตระหนัก ความรู้ ความสามารถของพนักงาน

การบริหารจัดการ

  • จัดการตรวจประเมินความเสี่ยงและให้การรับรองคู่ธุรกิจทุกรายเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยใช้กรอบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรและดำเนินการตาม “กรอบการดำเนินงานด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน เอสซีจี” ซึ่งครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) ร่วมกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย 
  • จัดกลุ่มคู่ธุรกิจเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคู่ธุรกิจทั่วไปลำดับที่ 1 กลุ่มคู่ธุรกิจที่มีนัยสำคัญ กลุ่มคู่ธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน และกลุ่มคู่ธุรกิจทางอ้อมรายสำคัญ 
  • จัดทำแผนพัฒนาและยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานของคู่ธุรกิจด้านความยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เช่น Contractor Safety Management และ SCG Transportation Safety: Sustainability Program  
  • จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานในกลุ่มวิชาชีพจัดหา พัสดุ และโลจิสติกส์ รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล วิธีปฏิบัติ ร่วมกับองค์กรจัดซื้อทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 
  • จัดให้มีคณะกรรมการดูแลการศึกษาการจัดซื้อ (Procurement Sub Academy Steering Committee) เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล วิธีปฏิบัติ ร่วมกับองค์กรจัดซื้อทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งงานจัดหาและการพัฒนาคู่ธุรกิจสู่ความยั่งยืน เพื่อให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเป้าหมาย

โครงสร้างการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน : การกำกับดูแลและการดำเนินงานตาม Supplier ESG Program

เอสซีจีได้นำแนวทางการบริหารห่วงโซ่อุปทานมาเป็นกลยุทธ์สำคัญในการลดความเสี่ยงและสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรโดยจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบทั้งในระดับเอสซีจีและระดับธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในทุกกระบวนการตลอดห่วงโซ่คุณค่าโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

คณะกรรมการเอสซีจีมีหน้าที่ดูแลการดำเนินการตามนโยบาย กลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทาน และ ESG Program สำหรับห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดของบริษัท ไม่เพียงแต่เพื่อจัดการกับข้อบกพร่องของห่วงโซ่อุปทานในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังดูแลให้มีกลยุทธ์และการดำเนินงานที่ครอบคลุมประเด็นที่สำคัญต่อไปในอนาคต โดยการกำกับดูแลมอบหมายนั้นได้มอบหมายให้คณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน SCG (SDC) ซึ่งประกอบด้วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหารระดับสูงของเอสซีจี และรายงานผลการดำเนินงานโดยตรงต่อคณะกรรมบริษัทผ่านการประชุมคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน SCG (SDC)  ประกอบด้วยคณะกรรมการย่อยใน 5 คณะที่ดูแลครอบคลุมความยั่งยืนในทุกมิติ มีหน้าที่รับผิดชอบสำหรับ Supplier ESG Program ที่ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการ Governance & Economic Excellence โดยมี Sustainable Supplier Committee ทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการกำหนดเกณฑ์การคัดกรองและการประเมินความเสี่ยง ตลอดจนการจัดลำดับความสำคัญของคู่ธุรกิจ เพื่อบริหารจัดการกลุ่มคู่ธุรกิจ ตามระดับความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนด้วยการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของคู่ธุรกิจ สู่ความยั่งยืนและรายงานความคืบหน้าของผลการดำเนินงานต่อคณะ SDC โดยตรง

เพื่อดำเนินการตามกลยุทธ์ของคณะกรรมการและ Supplier ESG Program ที่สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจของเอสซีจีที่มีการบูรณาการ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล) และจรรยาบรรณคู่ธุรกิจ เอสซีจี Sustainable Supplier Committee ได้ทบทวนแนวปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง กรอบการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนอย่างสม่ำเสมอ และพัฒนา SCG Supplier Portal เพื่อเป็นเครื่องมือให้คู่ธุรกิจปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการจัดซื้อ และเป็นช่องทางการสื่อสารเพื่อบริหารจัดการคู่ธุรกิจผ่านระบบออนไลน์เพื่อคัดกรองและประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ตลอดจนยกระดับการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของคู่ธุรกิจ

SCG Supplier Portal

SCG Supplier Portal  เพื่อการบริหารจัดการคู่ธุรกิจสู่ความยั่งยืน

  1. การลงนามจรรยาบรรณคู่ธุรกิจ เอสซีจี (Supplier Code of Conduct) เพื่อแสดงความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณคู่ธุรกิจของเอสซีจี
  2. การจัดเก็บข้อมูลด้านความยั่งยืน เอกสาร  การสื่อสารเรื่องเกณฑ์การคัดกรองและประเมิน ESG  และติดตามผลการดำเนินงานด้าน ESG ของคู่ธุรกิจ
  3. ตรวจสอบข้อมูลคู่ธุรกิจ การจัดการเอกสาร และคัดกรองคู่ธุรกิจที่เข้าเกณฑ์ SCG ESG
  4. การบริหารความเสี่ยงโดยการประเมินความเสี่ยง การบรรเทาความเสี่ยงและจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน รวมถึงการติดตามเสถียรภาพทางการเงิน การตรวจสอบประวัติ และการจัดการการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อกำหนด ESG
  5. สร้างและรักษาความสัมพันธ์เชิงบวกกับคู่ธุรกิจผ่านการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน และข้อเสนอแนะ รวมถึงช่องทางการแจ้งเบาะแส

การพัฒนาพนักงานจัดซื้อจัดจ้าง

คณะกรรมการซัพพลายเออร์อย่างยั่งยืนได้จัดทำระบบอีเลิร์นนิงเพื่อเพิ่มพูนทักษะและความสามารถของผู้ซื้อของบริษัทเพื่อให้ความรู้และความสามารถในการเข้าใจเป้าหมายของโครงการ ESG และแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้ออย่างยั่งยืน

ระบบ E-learning จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Sustainable Procurement Framework ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับบริษัทในเครือเอสซีจีในการดำเนินการด้านความยั่งยืนกับคู่ค้า กำหนดกระบวนการบริหารความเสี่ยงทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ตลอดจนแนวทางที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยง โดยคำนึงถึง คุณภาพ ปริมาณ การส่งมอบสินค้าและบริการตามความต้องการของลูกค้า และการปฏิบัติตามกฎหมายและระบบการประกันคุณภาพเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง ระบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ใช้เวลาประมาณ 30 นาที และมีระบบ Post Test วัดความรู้หลังเรียน

Supplier Code of Conduct

เอสซีจีดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมตามหลักบรรษัทภิบาลและจรรยาบรรณเอสซีจี ควบคู่กับความมุ่งมั่นในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาสู่ความสมดุลของสังคม สิ่งแวดล้อม และธุรกิจ ให้สามารถเจริญเติบโตควบคู่กันได้อย่างยั่งยืน

เอสซีจีมีเจตนารมณ์ ที่จะส่งเสริมแนวคิดนี้ออกไปยังคู่ธุรกิจ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจของเอสซีจี จึงได้จัดทำ “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี” เพื่อให้คู่ธุรกิจร่วมกันนำหลักการและแนวคิดดังกล่าวไปปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงสนับสนุนให้คู่ธุรกิจนำไปขยายผลปรับใช้เป็นนโยบาย มาตรฐานและแนวทางในการดำเนินงานกับคู่ธุรกิจของตนเอง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใส และสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืน ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่การออกแบบ การจัดซื้อจัดหา การผลิตสินค้าบริการ การกระจายสินค้า และโลจิสติกส์ รวมถึงการจัดการของเสียและผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน ตลอดจนปฏิบัติตัวเป็นพลเมืองดีควบคู่ไปกับการกำกับดูแลกิจการเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม

กรอบการดำเนินงานด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน  เอสซีจี (SCG Sustainable Procurement Framework)

เอสซีจีให้ความสำคัญกับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยพิจารณาและบริหารความเสี่ยงตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เริ่มตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบ วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต การขนส่ง การซื้อขาย การส่งมอบสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของและป้องกันไม่ให้มีผลกระทบเชิงลบต่อความไว้วางใจของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

กรอบการดำเนินงานด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน  เอสซีจี เป็นกรอบการดำเนินงานที่นำไปใช้โดยทุกบริษัทภายใต้การดำเนินงานของเอสซีจี ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ส่วน ได้แก่

  • องค์ประกอบที่ 1 การแสดงความมุ่งมั่น (Commitment) เอสซีจี มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้หลักบรรษัทภิบาล  และมีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมแนวคิดนี้ออกไปยังคู่ธุรกิจ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจของเอสซีจี
  • องค์ประกอบที่ 2 การจัดการความเสี่ยงในกระบวนการจัดหา (Procurement Practice towards Supply Chain ESG Risk management Process) เพื่อคัดเลือก ประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงของคู่ธุรกิจ โดยยึดถือและปฏิบัติตามเนื้อหา และขอบเขตของแนวทางการปฏิบัติภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมประเด็นด้านจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ สิทธิมนุษยชน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม ตลอดจนกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ
  • องค์ประกอบที่ 3 การวัดผลการดำเนินงาน (Measurement) เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของคู่ธุรกิจและการดำเนินงานในกระบวนการจัดหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้หลักบรรษัทภิบาล
  • องค์ประกอบที่ 4 การรายงานและการสื่อสาร (Reporting  and Communication) เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของคู่ธุรกิจและการดำเนินงานในกระบวนการจัดหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการสื่อสารข้อมูลและผลการดำเนินงานให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละระดับ

กรอบการดำเนินงานด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนเอสซีจีกำหนดขึ้นเพื่อให้ทุกบริษัทภายใต้การดำเนินงานของเอสซีจี นำไปใช้ในการประเมินคู่ธุรกิจเพื่อจัดกลุ่มคู่ธุรกิจในการบริหารความเสี่ยง ได้แก่ Significant Supplier (Critical Supplier + High Potential Sustainability (ESG) Risk Supplier), General Supplier รวมถึงส่งเสริมให้คู่ธุรกิจของคู่ธุรกิจ (*Critical Non-tier1 Supplier) นำกรอบกรอบการดำเนินงานด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนเอสซีจีไปใช้เพื่อลดความเสี่ยงในการจัดการห่วงโซ่อุปทานของตนเอง

ขั้นตอนที่ 1 การคัดเลือกและขึ้นทะเบียนผู้ขาย (Supplier Selection and Approved Vendor List)

การขึ้นทะเบียนผู้ขาย เพื่อการคัดเลือกคู่ธุรกิจทีมีศักยภาพร่วมธุรกิจโดยใช้ข้อกำหนดขั้นต่ำ (Minimum Requirements) เพื่อให้คู่ธุรกิจยึดถือและปฏิบัติตาม โดยมีเนื้อหา และขอบเขตของแนวทางการปฏิบัติภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมประเด็นด้านจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ แรงงานสิทธิมนุษยชน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม ตลอดจนกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ

  • การลงนามลงนามปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี หรือ แสดงความมุ่งมั่นปฏิบัติตามแนวทางจรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจีโดยมีจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ/ข้อกำหนด/แนวทางดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับจรรยาบรรณคู่ธุรกิจของเอสซีจี เป็นเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร
  • คู่ธุรกิจที่เข้ามาทำงานในพื้นที่รับทราบและปฏิบัติตามกฎพิทักษ์ชีวิต (Life Saving Rules)
  • คู่ธุรกิจในกระบวนการผลิตผ่านการรับองความปลอดภัยผู้รับเหมาเครือซิเมนต์ไทย (SCG Subcontractor Safety Certification System: SCS)

ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์การใช้จ่าย (Spend Analysis)

ดำเนินการวิเคราะห์การใช้จ่าย (Spending Analysis) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงของคู่ธุรกิจ โดยขอบเขตของการวิเคราะห์การใช้จ่ายครอบคลุมการจัดซื้อและการจัดหาทุกประเภท 

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคู่ธุรกิจ  (Supplier Screening)

ดำเนินการประเมินซัพพลายเออร์โดยพิจารณาผลกระทบของซัพพลายเออร์ต่อความเสี่ยงในการจัดซื้อจัดจ้างและการดำเนินธุรกิจ เพื่อระบุซัพพลายเออร์ที่สำคัญต่อซัพพลายเออร์ที่สำคัญ และการประเมิน ESG เพื่อระบุ *ซัพพลายเออร์สำคัญ ซึ่งรวมถึงซัพพลายเออร์ที่มีความเสี่ยงทั้งวิกฤตและความยั่งยืนที่มีศักยภาพสูง (ESG) . กระบวนการประเมินซัพพลายเออร์ควรดำเนินการอย่างน้อยปีละครั้งอย่างสม่ำเสมอ ณ สิ้นปี ซึ่งรวมถึงการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับแง่มุมทางเศรษฐกิจของซัพพลายเออร์และความยั่งยืนหรือประสิทธิภาพ ESG ซึ่งครอบคลุมปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล

การประเมินความเสี่ยง และจัดกลุ่มคู่ธุรกิจ

จัดการประเมินความเสี่ยงในการบริหารห่วงโซ่อุปทานเป็นประจำต่อเนื่องทุกปี โดยพิจารณาจัดกลุ่มคู่ธุรกิจให้สอดคล้องกับความเสี่ยงและความสำคัญ โดยใช้กรอบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Risk Management) ร่วมกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย (Spend Analysis) และเพิ่มความชัดเจนในการพิจารณาความเสี่ยงที่มีผลต่อธุรกิจ เพื่อจำแนกคู่ธุรกิจที่มีนัยสำคัญทางธุรกิจ (Significant Supplier) โดยการพิจารณาถึงปัจจัยความเสี่ยงด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (Environmental Social and Governance : ESG)

คู่ธุรกิจที่มีนัยสำคัญทางธุรกิจ (Critical Supplier / Business relevant) พิจารณาจาก

  1. High Volume เป็นคู่ธุรกิจที่มียอดซื้อสูง (ยอดซื้อที่ถือเป็น High Volume ขึ้นกับทางธุรกิจ/บริษัทกำหนด) และ/หรือ
  2. Critical Component เป็นคู่ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการที่สำคัญต่อกระบวนการผลิตหรือ
    การดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก และ/หรือ
  3. Non-Substitutable/ Oligopoly/ OEM
    1. Non-Substitutable: เป็นคู่ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการที่ไม่สามารถหาวัสดุ/ผู้ขายรายอื่นมาทดแทนได้
    1. Oligopoly เป็นคู่ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการที่มีผู้ขายน้อยราย
    1. OEM (Original Equipment Manufacturer)

คู่ธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (High Potential Sustainability (ESG) Risk Supplier) ความเสี่ยงที่คำนึงถึงประเด็นด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับคู่ธุรกิจนั้นๆ  และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

  • ความเสี่ยงรายประเทศ (Country-specific risk) เป็นความเสี่ยงที่ เกิดจากความไม่แน่นอนของภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง หรือปัจจัยภายนอกอื่น ๆ เช่น ภัยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่คู่ธุรกิจตั้งอยู่
  • ความเสี่ยงเฉพาะตัวของอุตสาหกรรม (Sector-specific risk) และ/หรือความเสี่ยงเฉพาะตัวของสินค้า (Commodity-specific risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากลักษณะของอุตสาหกรรมที่คู่ธุรกิจอยู่และสินค้าที่คู่ธุรกิจผลิตหรือมีไว้จำหน่าย

โดยหากคู่ธุรกิจไม่สามารถดำเนินการตามข้อกำหนดด้าน ESG ในจรรยาบรรณได้ บริษัทฯ สงวนสิทธิ์ที่จะระงับการจัดซื้อจัดจ้างชั่วคราวหรือถอนชื่อออกจากทะเบียนคู่ธุรกิจของบริษัทฯ

คู่ธุรกิจที่มีนัยสำคัญ (Critical Supplier) หมายถึง คู่ธุรกิจผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าและบริการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจของเอสซีจี เช่น มียอดซื้อสูง เป็นส่วนประกอบสำคัญของสินค้า หรือไม่อาจหาวัสดุ/ผู้ขาย รายอื่นมาทดแทนได้

คู่ธุรกิจที่มีนัยสำคัญ (Critical Supplier) โดยพิจารณาจาก

  1. High Volume เป็นคู่ธุรกิจที่มียอดซื้อสูง (ยอดซื้อที่ถือเป็น High Volume ขึ้นกับทางธุรกิจ/บริษัทกำหนด) และ/หรือ
  2. Critical Component เป็นคู่ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการที่สำคัญต่อกระบวนการผลิตหรือการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก และ/หรือ
  3. Non-Substitutable/ Oligopoly/ OEM
  4. Non-Substitutable: เป็นคู่ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการที่ไม่สามารถหาวัสดุ/ผู้ขายรายอื่นมาทดแทนได้
  5. Oligopoly เป็นคู่ธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการที่มีผู้ขายน้อยราย
  6. OEM (Original Equipment Manufacturer) เป็นคู่ธุรกิจที่รับจ้างผลิตสินค้าเป็น House Brand/Private Brand

คู่ธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (High Potential Sustainability (ESG)

(Risk Supplier) หมายถึง คู่ธุรกิจผู้ผลิตและจัดจำหน่วยสินค้าและบริการที่มีแนวโน้มสูงว่าอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบจากการดำเนินการที่ไม่เหมาะสมในเชิงสังคม (เช่น สิทธิมนุษยชน การดูแลพนักงานและแรงงาน) สิ่งแวดล้อม (เช่น การจัดการของเสีย) และการกำกับดูแล (เช่น การปฏิบัติตามกฎหมาย) โดยพิจารณาจาก

  1. การวัดระดับความรุนแรงผลกระทบของคู่ธุรกิจ (Severity Rating) พิจารณาระดับความรุนแรงของผลกระทบของคู่ธุรกิจ 3 ระดับ คือ ความเสี่ยงน้อย ความเสี่ยงปานกลาง ความเสี่ยงรุนแรง ควบคู่กับหลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล
  2. Environmental Risk ความเสี่ยง/ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโดยอาทิ การบริหารจัดการน้ำ ของเสีย พลังงาน สารเคมี มลพิษทางอากาศ ก๊าซเรือนกระจก การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. Social Risk ความเสี่ยงด้านสังคม ความเสี่ยงด้านสังคม อาทิ การจัดการด้านแรงงาน (แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ) สิทธิมนุษยชน สุขภาพ ความปลอดภัย เกิดข้อร้องเรียน หรือไม่เป็นไปตามข้อกฎหมาย หรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
  4. Business/Governance Risk ความเสี่ยงธุรกิจ/การกำกับดูแล อาทิ การปฏิบัติตามกฎหมาย ภาพลักษณ์องค์กร การดำเนินการตามใบอนุญาต
  5. การวัดโอกาสที่จะเกิดขึ้น (Likelihood Rating) พิจารณาโอกาสที่จะเกิดขึ้น 3 ระดับ คือ ไม่น่าเกิดขึ้น อาจจะเกิดขึ้น และน่าจะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงมาตรการควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

Example of Risk Assessment Metric

ขั้นตอนที่ 4 การจัดกลุ่มคู่ธุรกิจ (Supplier Segmentation)

พิจารณานำผลจากการวิเคราะห์การใช้จ่ายและการประเมินคู่ธุรกิจมาจัดกลุ่มคู่ธุรกิจ เพื่อบริหารจัดการคู่ธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพตามความสำคัญและความเสี่ยง

This image has an empty alt attribute; its file name is image-29.png
  • คู่ธุรกิจที่มีนัยสำคัญ (Critical Supplier) ดำเนินการตรจสอบและวางแผนปิดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
  • คู่ธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (High Potential Sustainability (ESG) Risk Supplier) ดำเนินการประเมินคู่ธุรกิจ พร้อมวางแผนพัฒนาร่วมกันในระยะยาวเพื่อยกระดับห่วงโซ่อุปทาน
  • คู่ธุรกิจทั่วไป (General Supplier) คู่ธุรกิจลงนามปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี หรือ คู่ธุรกิจมีจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ/ข้อกำหนด/แนวทางดำเนินธุรกิจ ที่สอดคล้องกับจรรยาบรรณ

คู่ธุรกิจที่สนใจหรือมีโอกาสทางธุรกิจสูง  (Focused or High Opportunity Supplier) ควรพิจารณาโอกาส (Opportunity) ในการสร้างความร่วมมือกับคู่ธุรกิจเพื่อพัฒนาสินค้าหรือบริการ โดย วางแผนร่วมกับคู่ธุรกิจเพื่อพัฒนาและสร้างความก้าวหน้าทางธุรกิจร่วมกัน

Minimum weight of ESG for assessment process*

จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดขั้นต่ำ 70%

ขั้นตอนที่ 5 การตรวจประเมินผู้ขาย (Supplier Assessment and Audit)

เอสซีจีมีกระบวนการประเมินคู่ธุรกิจทั้งแบบ Supplier desk assessments และ Supplier on-site assessments โดยประเมินผลงานของซัพพลายเออร์ในด้านกำหนดการส่งมอบสินค้า ครอบคลุมคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการ ตลอดจนเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) ซึ่งคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และความต่อเนื่องทางธุรกิจตามมาตรฐานสากล เช่น  ISO9001, ISO14001, ISO45001, ISO50001, TIS/OHSAS18001, UDHR, UNGC, UNGP, and ILO etc.
This image has an empty alt attribute; its file name is image-69.png
  • ตรวจประเมินความสามารถคู่ธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล
  • ใช้แบบสอบถามการตรวจเยี่ยม/การตรวจประเมินคู่ธุรกิจ/Third-Party Audit โดยสอบถามข้อมูล
    การทำธุรกิจ รวมไปถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล
  • ดำเนินการตรวจเยี่ยม/ตรวจประเมินคู่ธุรกิจ/Third-Party Audit โดยแจ้งผลการประเมินพร้อมทั้งแผนพัฒนาคู่ธุรกิจ เพื่อยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรอย่างยั่งยืน

ข้อกำหนดขั้นต่ำในการดำเนินงาน (Minimum Requirements)

คู่ธุรกิจที่มีนัยสำคัญ (Critical Supplier/Business relevant) ดำเนินการตรวจประเมินคู่ธุรกิจ ตามลักษณะความเสี่ยงของธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น

  • การประเมิน Plant reliability โดยการเยี่ยมชมและดูแนวทางดำเนินการ
  • Supplier Self-assessment
  • On-site Audit
  • Monitor critical non-tier 1 supplier
  • Third-Party Audit

คู่ธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (High Potential Sustainability (ESG) Risk Supplier) ดำเนินการตรวจประเมินคู่ธุรกิจที่สถานประกอบ โดย Third-Party Audit หรือ โดยหน่วยงานภายในธุรกิจ (On-site) โดยมีเกณฑ์การประเมินด้านการบริหารจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล  พร้อมข้อแนะนำเพื่อปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานหากพบจุดที่ควรดำเนินการปรับปรุง

This image has an empty alt attribute; its file name is image-70.png

ขั้นตอนที่ 6 การวางแผนพัฒนา (Initiation and Development Plan)

เอสซีจีมุ่งสร้างการมีส่วนร่วมกับคู่ธุรกิจ สื่อสารความคาดหวังและความตั้งใจเกี่ยวกับการจัดการความยั่งยืน พร้อมสำรวจโอกาสในการเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขัน และการทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ เอสซีจีกำหนดแผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของคู่ค้าให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท และเสริมสร้างและขยายการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทาน เช่น การจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การรับรองฉลากคาร์บอน การให้คำปรึกษา ความช่วยเหลือด้านคำแนะนำ 

หลังจากการตรวจประเมิน พิจารณาความเสี่ยงเพื่อสร้างแผนปฏิบัติการที่เหมาะสม โดยมีกรอบการพิจารณาดังนี้
1.หากความเสี่ยงนั้นเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจของเอสซีจี จะต้องมีแผนงานในการจัดการกับความเสี่ยงดังกล่าว
2.หากความเสี่ยงนั้นเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจต่อคู่ธุรกิจ จะต้องให้คำแนะนำในการปรับปรุง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ High Potential Sustainability (ESG) Risk Supplier มีเพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการแก้ไข หรือแผนป้องกันที่จะต้องมีการติดตามและรายงานผล

Sustainable Supply Chain Measurement

เพื่อให้มั่นใจถึงการดำเนินการตามความยั่งยืน และการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการปฏิบัติตามและความเข้ากันได้กับกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้หลักการกำกับดูแล 

Significant Supplier Monitoring

Supplier with Corrective Action Plan

พัฒนาและยกระดับศักยภาพคู่ธุรกิจสู่ความยั่งยืน

Supplier Day 2022

เอสซีจีจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ Supplier Day2022 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และสนับสนุนการบูรณาการเรื่อง ESG เข้าไปในการดำเนินงานของคู่ธุรกิจ  เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 มีคู่ธุรกิจเข้าร่วมอบรม 123 ราย ประกอบด้วยคู่ธุรกิจรายใหญ่ (20%) คู่ธุรกิจที่มีศักยภาพด้านความร่วมมือ (31%) และคู่ธุรกิจที่มีโอกาสในการปรับปรุงพัฒนาเพื่อลดความเสี่ยงด้าน ESG (49%)

การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วยหัวข้อที่สำคัญ ได้แก่ การกำกับดูแลและจริยธรรมทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิทธิมนุษยชน  ซึ่งเป็นประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญในการดำเนินงาน  โดยเอสซีจีมุ่งสนับสนุนให้คู่ธุรกิจพัฒนาการดำเนินงานด้านความยั่งยืน   ด้วยการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของการบูรณาการ ESG ไปจนถึงแนวทางการนำไปปฏิบัติ รวมถึงสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจในระยะยาวร่วมกันตลอดห่วงโซ่คุณค่า

Climate Change Supplier Engagement Workshop

เอสซีจีจัดงาน Climate Change Supplier Engagement Workshop ในเดือนกรกฎาคม 2566 กลุ่มผู้เข้าร่วมประกอบด้วยคู่ธุรกิจกลุ่มนำร่องที่มีความมุ่งมั่นและศักยภาพ จำนวน 12 ราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง Climate Change และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทาน โดยให้ข้อมูลและแนวทางการดำเนินงานที่จำเป็นต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) อีกทั้งเพื่อ สร้างความสัมพันธ์กับคู่ธุรกิจตลอดจนการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยกันลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 
This image has an empty alt attribute; its file name is image-37.png

In-depth Technical Support Program

โปรแกรมสนับสนุนทางเทคนิคเชิงลึกและการสนับสนุนความรู้ทางเทคนิค โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของคู่ธุรกิจตามแนวทาง ESG  ประกอบด้วยการจัดการฝึกอบรม การประเมินผล การพัฒนาระบบการดำเนินงานร่วมกัน และการติดตามความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ

1. มุ่ง Net Zero พัฒนาคู่ธุรกิจบริการยานยนต์ไฟฟ้า
เอสซีจีมุ่ง Net Zero โดยพัฒนาคู่ธุรกิจมาร่วมดำเนินการให้บริการยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle, EV) ที่มีประสิทธิภาพ แทนการใช้ยานยนต์เชื้อเพลิงน้ำมันแบบเดิม

รถบรรทุกหินปูน EV ธุรกิจ
ซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างร่วมกับคู่ธุรกิจนำรถบรรทุกงานเหมืองแร่ชนิดไฟฟ้า (EV Mining Truck)จำนวน 6 คันมาใช้ส่งมอบหินปูนซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตปูนซีเมนต์ ถือเป็นรายแรกของประเทศไทย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 108 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปีต่อคันเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 11,333 ต้นต่อปี และได้ร่วมกับคู่ธุรกิจศึกษาการใช้งานรถบรรทุก EV เพื่อวางแผนและวิเคราะห์จำนวนและตำแหน่งการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับตั้งเป้าหมายเปลี่ยนรถบรรทุกแบบเดิมมาเป็นEV ครบทั้งหมดในกิจการของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ทุ่งสง)จำกัด ภายในปี 2568 และขยายผลไปโรงงานปูนซีเมนต์อื่นๆโครงการนี้สนับสนุนและสอดคล้องกับนโยบายยกระดับอุตสาหกรรมสู่มาตรฐานเหมืองแร่สีเขียวของกระทรวงอุตสาหกรรมและกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่(กพร.)
This image has an empty alt attribute; its file name is image-84.png

รถยก EV Forklift

เอสซีจีเริ่มทดลองการใช้รถยก EV Forkliftมาตั้งแต่ปี 2564 จนปัจจุบันมีการใช้รถยก EV Forklift แทนรถยก Forklift แบบเดิมกว่า 400 คัน ตัวอย่างเช่น โรงงานเซรามิกในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เริ่มทดลองการใช้รถยก EV Forklift เพื่อศึกษาสมรรถนะของรถ EV ตามลักษณะการใช้งานประเภทต่างๆ พร้อมกับเก็บข้อมูลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อการพัฒนางานในระยะต่อไป โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มการใช้รถยก EV Forklift อีก 30 คันแทนรถยก
เดิมที่ครบสัญญาภายในปี 2566 และจัดหาคู่ธุรกิจที่มีศักยภาพให้บริการรถยก EV Forklift ที่ตอบโจทย์การทำงานของโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

This image has an empty alt attribute; its file name is image-86.png

2. มุ่ง Net Zero ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทาน
เอสซีจีพัฒนาโครงการความร่วมมือกับคู่ธุรกิจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก GHG Scope 3 สำหรับกลุ่มสินค้าและบริการโดยเริ่มต้นจาก SCGC (ธุรกิจเคมิคอลส์) ร่วมกับคู่ธุรกิจที่จำหน่ายเคมีภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์มากกว่า 80% ในสัดส่วนมูลค่าการจัดซื้อคิดเป็นคู่ธุรกิจจำนวน 128 ราย ร่วมกันดำเนินการเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อจัดทำฐานข้อมูลสำหรับพัฒนาโครงการต่อไป

3. Go Green พัฒนาคู่ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เอสซีจีดำเนินการคัดเลือกคู่ธุรกิจที่มีศักยภาพในการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมผลักดันและส่งเสริมให้คู่ธุรกิจผ่านการ
ตรวจประเมิน ISO 50001, ISO14001 หรือได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) กระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อขึ้นทะเบียนการจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของเอสซีจี โดยเข้าตรวจประเมิน ให้คำแนะนำและสนับสนุนจนผ่านเกณฑ์การคัดเลือก เช่น SCGC (ธุรกิจเคมิคอลส์) ในปี 2565ได้ร่วมกับคู่ธุรกิจ 8 รายขยายการพัฒนาผลิตภัณฑ์และงานบริการเข้าสู่ทะเบียนการจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 7 รายการ ซึ่งมีสินค้า 6 รายการ และงานบริการ 1 รายการ ทำให้การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวเพิ่มขึ้นจาก 14% เป็น 17% ของการจัดซื้อทั้งหมดใน SCGC (ธุรกิจเคมิคอลส์) โดยระยะต่อไปจะพัฒนากระบวนการตรวจสอบประสิทธิภาพของผู้ขายสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(Re-assessment Performance) เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทยังคงได้การจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามเป้าหมาย

เอกสารดาวน์โหลด

Green Procurement Guideline
Supplier code of conduct
SCG Procurement and Vendor Selection Policies and Guidelines