การพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้หลักบรรษัทภิบาล
เอสซีจีเป็นกลุ่มบริษัทชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 100 ปี โดยก่อตั้งในประเทศไทยเป็นบริษัทแรกๆ เมื่อปี 2456 ตามพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี และสืบทอดต่อเนื่องมาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งปัจจุบันมีหุ้นบริษัทในพระปรมาภิไธยประมาณร้อยละ 33.6 โดยเป็นบริษัทที่ได้รับการยอมรับและเป็นแบบอย่าง ขององค์กรทั่วไปในด้านบรรษัทภิบาลที่ดี
เอสซีจียึดมั่นในอุดมการณ์ 4 ประการในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องมายาวนาน โดยเชื่อว่าการบริหารจัดการองค์กรด้วยความรับผิดชอบ เป็นธรรม และโปร่งใสตามหลักบรรษัทภิบาล เป็นพื้นฐานสำคัญที่สนับสนุนการดำเนินกิจการและเพิ่มมูลค่าในระยะยาว สร้างความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยมีคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงประพฤติตนเป็นแบบอย่างในฐานะผู้นำการกำกับดูแลกิจการ (Tone at the Top)
แนวทางในการกำกับดูแล
เอสซีจียึดมั่นและปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง ตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการภายในประเทศและหลักเกณฑ์ในระดับสากล โดยคณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติให้รวบรวมองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม และรับผิดชอบต่อสังคม ประมวลไว้เป็นคู่มือบรรษัทภิบาลเอสซีจี เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานบริหาร ในการจัดการองค์กรและธุรกิจ รวมถึงพัฒนาองค์กรให้เป็นแบบอย่างด้านบรรษัทภิบาลตามวิสัยทัศน์ โดยเริ่มจัดพิมพ์และเผยแพรครั้งแรกเมื่อปี 2546 และปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อปี 2564 ซึ่งได้เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ของบริษัท www.scg.com
โครงสร้างการกำกับดูแล
ภายใต้บริบททางธุรกิจที่มีความซับซ้อน ผันผวน และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เอสซีจีได้ออกแบบโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานตามหลัก การกำกับดูแลกิจการที่ดี การตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอ การติดตามดูแลให้กรรมการและผู้บริหารทุกคนปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง และซื่อสัตย์สุจริต ตามกฎหมาย ข้อบังคับ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตลอดจน นโยบายหรือแนวทางที่ได้กำหนดไว้ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วน ได้เสียที่เกี่ยวข้อง
โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการ
เอสซีจีมีคณะกรรมการบริษัทซึ่งประกอบด้วยบุคคลซึ่งมีความรู้ ความสามารถเป็นที่ยอมรับ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของบริษัท โดยร่วมกับผู้บริหารระดับสูง ในการกำหนดกลยุทธ์ และนโยบายการดำเนินงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนกำหนดนโยบายการเงิน การบริหารความเสี่ยง และภาพรวมขององค์กร รวมทั้งการทบทวนนโยบายและแผนงานสำคัญของบริษัทเป็นประจำทุกปี มีบทบาทสำคัญในการจัดสรรทรัพยากรสำคัญตามเป้าหมาย ตลอดจนกำกับดูแลตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของเอสซีจี และผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูงให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างเป็นอิสระ
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการที่ดีในระดับสากล บริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องความหลากหลายในโครงสร้างของคณะกรรมการบริษัท (Board Diversity) ซึ่งประกอบด้วยความหลากหลายทั้งในด้านทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ในธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเอสซีจี รวมถึงความชำนาญเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท (Board Skill Matrix) ตลอดจนส่งเสริมให้มีการนำเรื่องความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่างของบุคคลตามนโยบายด้านการบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคล (Diversity and Inclusion Policy) มาเป็นปัจจัยประกอบการพิจารณาและสรรหากรรมการบริษัท โดยไม่มีข้อจำกัดหรือแบ่งแยกในเรื่องเพศ อายุ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ประเทศ ต้นกำเนิด วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียม เป็นต้น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมเป็นกรรมการให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท


คณะกรรมการชุดย่อย
คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบรรษัท
ภิบาลและสรรหา คณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทน และคณะกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเรื่อง และเสนอเรื่องให้คณะกรรมการบริษัท พิจารณาหรือรับทราบโดยได้จัดให้มีกฎบัตรเพื่อกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบสำหรับคณะกรรมการชุดย่อยทุกคณะ
คณะกรรมการตรวจสอบ
กรรมการอิสระ 3 คน
กำกับดูแลการบริหารความเสี่ยง การกำกับดูแล การปฏิบัติงานและการควบคุมภายใน ทำหน้าที่สอบทานการดำเนินงานให้ถูกต้องตามนโยบายและ ระเบียบข้อบังคับ ตลอดจนกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และข้อกำหนด ของหน่วยงานกำกับดูแล ส่งเสริมให้พัฒนาระบบรายงานทางการเงิน และบัญชีให้เป็นตามมาตรฐานสากล รวมสอบทานให้มีระบบการ ควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบภายใน และระบบบริหารความเสี่ยง ที่รัดกุม เหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและสรรหา
กรรมการอิสระ 4 คน
กำกับดูแลงานด้านบรรษัทภิบาล พิจารณา สรรหาผู้ที่สมควรได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทแทนกรรมการที่ครบกำหนดออกตามวาระหรือกรณีอื่น ทบทวนระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อย รวมทั้งศึกษาพิจารณาติดตามความเปลี่ยนแปลง และแนวโน้มในเรื่องผลตอบแทนของคณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทน
กรรมการอิสระ 3 คน
กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 1 คน
กำกับดูแลนโยบายการพิจารณาค่าตอบแทนให้แก่คณะจัดการเอสฃีจี (Management Remuneration) การประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการผู้จัดการใหญ่และคณะจัดการเอสซีจี การจัดทำแผนการสืบทอดตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่และคณะจัดการของบริษัทเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณา รวมถึงศึกษาพิจารณาติดตามความเปลี่ยนแปลง และแนวโน้มในเรื่องผลตอบแทนของผู้บริหารระดับสูงของเอสซีจีเพื่อเสนอเป็นนโยบายค่าตอบแทนที่สามารถจูงใจให้กับผู้บริหารระดับสูงของเอสซีจีในการบริหารกิจการ ตลอดจนสามารถรักษาคนเก่งและดีให้คงอยู่กับองค์กร
คณะกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
กรรมการ 6 คน
ฝ่ายจัดการ/ ที่ปรึกษา 3 คน
กำกับดูแลการกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานด้านกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ของเอสซีจี เชื่อมโยงเป้าหมายการดำเนินงานกับเป้าหมายของเอสซีจีและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องเพื่อ เสนอแนะการกำหนดงบประมาณประจำปีสำหรับการดำเนินกิจกรรม รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานและรายงานผลต่อคณะกรรมการบริษัท
การกำกับดูแลของคณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อย ปี 2565

ค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหารระดับสูง
คณะกรรมการบริษัทมอบหมายให้คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและสรรหาพิจารณาเสนอแนวทางและวิธีการจ่ายค่าตอบแทนของคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อยตลอดจนติดตามความเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มในเรื่องผลตอบแทนของกรรมการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาและมอบหมายให้คณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทนการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่คณะจัดการเอสซีจี
นโยบายการจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหารระดับสูง
เพื่อให้การจัดการค่าตอบแทนมีความเป็นธรรม ถูกต้องโดยปราศจากอคติและสอดคล้องกับลักษณะการบริหารงานที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มธุรกิจ คณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทนจะประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหารระดับสูง โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานทางธุรกิจของบริษัท การดำเนินงานตามนโยบายที่ได้รับจากคณะกรรมการบริษัท ประกอบกับสภาวการณ์เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม โดยคณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทนจะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพิจารณาค่าตอบแทนที่เหมาะสมของกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารระดับสูงของเอสซีจี เพื่อเสนอคณะกรรมการบริษัทอนุมัติ
เมื่อเดือนมีนาคม 2565 คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติเกณฑ์และแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งระยะสั้นและระยะยาวของกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหารระดับสูงพร้อมตัวชี้วัดเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายของเอสซีจี ตามที่คณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทนเสนอ โดยการประเมินผลการปฏิบัติงานจะพิจารณาจาก:

การถือหุ้นของผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหาร

หมายเหตุ :
- ตามโครงสร้างของเอสชีจี ผู้บริหารตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีทั้งสิ้นจำนวน 16 คนข้างต้น
- ผู้บริหารลำดับที่ 15 และ 16 คือผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีและการเงิน
เอกสารดาวน์โหลด
คู่มือบรรษัทภิบาลเอสซีจี
จรรยาบรรณ เอสซีจี
นโยบายด้านการบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคล
CEO and Executive Compensation Management
Board Composition and Independence
SCG Board Industry Experience and Expertise
Summary of Enterprise Risk Management Experience of SCG Non-Executive Directors