SDG’s  เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ เอสซีจี

ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายด้าน สิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างรุนแรง เอสซีจีได้นำแนวคิด Regenerative Transformation มาเป็น หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจที่ยกระดับอุตสาหกรรมในการปรับตัว ควบคู่กับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างสังคมสำหรับทุกคนตามแนวทาง Inclusive Green Growth

ความมุ่งมั่นนี้เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ในฐานะสมาชิกของเครือข่ายแห่งความยั่งยืนโลก (GCNT) เอสซีจีได้ยกระดับการพัฒนาทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

ด้วยแนวคิด Area-based Approach เอสซีจีได้สร้างพื้นที่ต้นแบบเพื่อทดสอบและพัฒนาโซลูชันที่เหมาะสมกับบริบทท้องถิ่น ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งภายในองค์กรและผ่านความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

กลยุทธ์การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

น้ำสะอาดและสุขอนามัย พัฒนาประสิทธิภาพการใช้น้ำลดการใช้น้ำจากภายนอก และบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
พลังงานสะอาดในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานและเทคโนโลยีในการจัดส่งบริการพลังงาน ให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา
การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืนการจ้างงานเต็มที่มีผลิตภาพ และเหมาะสมสำหรับทุกคน โดยการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรม
อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการ พัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน (Inclusive Industrialization)
และส่งเสริมนวัตกรรม
บริโภคและผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ ลดของเสียโดยกระบวนการ Reuse และ Recycle ผ่านผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เพื่อสร้าง รูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบายระดับชาติและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ชีวิตใต้น้ำ อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน โดยการบริหารจัดการ อนุรักษ์ และ ฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง
ปกป้องฟื้นฟูและส่งเสริมการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ยกระดับความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และ
ประชาสังคม ผ่านโมเดล PPP

ผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญในปี 2567

สิ่งแวดล้อม

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 และ 2 ที่ลดลง (เทียบกับปีฐาน 2563) 8.76 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นับเป็น 25.59% จากปีฐาน
สัดส่วนการนำน้ำกลับมาใช้ 13.10%
ของเสียอันตรายและของเสียไม่อันตรายที่นำไปฝังกลบ (เฉพาะประเทศไทย) 0 ตัน
สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงทดแทน 28.59%
SCGP ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ หรือสลายตัวได้ 99.7%
ปริมาณวัตถุนำกลับมาใช้ใหม่และวัตถุดิบหมุนเวียน 8.93 ล้านตัน
อนุรักษ์ ฟื้นฟู และเพิ่มพื้นที่สีเขียว 318,863 ไร่
ค่าใช้จ่ายและเงินลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม 7,029 ล้านบาท 1.38% ของรายได้จากการขาย

สังคม

อัตราการบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นสูญเสียวันทำงาน พนักงาน 0.186 ราย ต่อ 1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน / คู่ธุรกิจ 0.205 ราย ต่อ 1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน
สัดส่วนพนักงานหญิงในระดับจัดการ 27.9%
การแบ่งปันสู่สังคม 381 ล้านบาท
ลดเหลื่อมล่ำในสังคม 24,543 คน
อัตราการเจ็บป่วยและโรคจากการทำงาน ที่ต้องมีการบันทึกทั้งหมด พนักงาน 0.132 ราย ต่อ 1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน
จำนวนผู้บาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นเสียชีวิตในพื้นที่ทำงาน การเดินทางและการขนส่งโดยตรง พนักงาน 2 ราย / คู่ธุรกิจ 7 ราย
จำนวนฝายชะลอน้ำ 127,618 ฝาย
ส่งเสริมการจัดการน้ำชุมชน 2,307 ครัวเรือน
การละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน 0 ราย

บรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ

สินค้า บริการและโซลูซัน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Green Choice 54.0% จากรายได้ของการขาย
มูลค่าการจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 8,183 ล้านบาท
คู่ธุรกิจผ่านกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG 100% ของคู่ธุรกิจที่มีมูลค่าการจัดหามากกว่าล้านบาท
พนักงานเรียนรู้และทดสอบด้านจริยธรรมผ่าน Ethics e-Testing 100%
สินค้า บริการและโซลูซัน ที่ได้รับฉลาก Green Choice ในหมวด Circularity 23.0% จากรายได้ของการขายcular Economy Products 23.0% of revenue from sales
สินค้า บริการและโซลูชันที่มีมูลค่าเพิ่มสูง HVA 38.0% จากรายได้ของการขาย
การรับรองฉลากคาร์บอน 891 ผลิตภัณฑ์
การลงทุนเพื่อการวิจัยและนวัตกรรม 4,847 ล้านบาท 0.9% ของรายได้จากการขาย
เงินลงทุนด้าน ESG 5,680 ล้านบาท
ปริมาณการหมุนเวียนพลาสติกใช้แล้วกลับมาสร้างมูลค่าเพิ่ม 185,200 ตัน
เงินสนับสนุนสมาคมและองค์กรต่างๆ 36.43 ล้านบาท