เอสซีจีเชื่อว่าสังคมและชุมชนที่เข้มแข็งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าและก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลง เราจึงมุ่งสร้างสรรค์ความเจริญอย่างยั่งยืนในทุกภูมิภาคและทุกชุมชนที่เข้าไปดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างยั่งยืน

‘ความรับผิดชอบต่อสังคม’ เป็นอุดมการณ์ที่เอสซีจียึดถือเป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน เราทุ่มเทเพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิต ให้ความสำคัญกับการจัดการกับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้คน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงทางเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

การบริหารจัดการ

  • “คณะกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”ประกอบด้วยกรรมการบริษัทและผู้บริหารเอสซีจี ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านสังคม
  • “มูลนิธิเอสซีจี”ดำเนินภารกิจหลักด้านพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นคนเก่งและคนดี
  • “หน่วยงานชุมชนสัมพันธ์”ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนโดยรอบสถานประกอบการของเอสซีจี ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

เป้าหมายและผลงาน

  • การแบ่งปันสู่สังคม

กลยุทธ์

  1. การใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งจากภายในเอสซีจีและภายนอก พัฒนาศักยภาพชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และช่วยเหลือดูแลสังคม
    เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถขยายผลเป็นแบบอย่างขององค์กรอื่น ๆ โดยเอสซีจีเข้าไปมีส่วนร่วมดำเนินการตั้งแต่วิเคราะห์ปัญหา วางแผนงาน และร่วมดำเนินงานในทุกกระบวนการจนประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
  2. การสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อสร้างสรรค์คุณค่าที่ยั่งยืนสู่สังคม
    เพื่อแก้ไขปัญหาหรือยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่สังคมในวงกว้างโดยใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เฉพาะทาง ทั้งนี้เอสซีจีเข้าไปมีส่วนร่วมในบางเรื่องและสามารถขยายผลหรือนำไปต่อยอดได้
  3. การสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและแก้ไขปัญหาของสังคม
    เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตหรือเสริมสร้างศักยภาพในด้านต่างๆของสังคมโดยพนักงาน SCG เข้าไปมีส่วนร่วมขับเคลื่อนโครงการจนเกิดผลสำเร็จและขยายไปสู่ภาคส่วนต่างๆ
  4. การพัฒนาต้นแบบการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนและขยายผลสู่ชุมชนเครือข่าย
    เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของสังคมรวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตคนในสังคมให้ดียิ่งขึ้นด้วยการสนับสนุนองค์กรที่ได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถด้านการบริหารจัดการกิจกรรมสาธารณประโยชน์

แนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาสังคม

            เอสซีจีกำหนดกลยุทธ์โดยใช้แนวทางการดำเนินกิจกรรมที่ส่งผลต่อสังคมและการมีส่วนร่วมของเอสซีจี ซึ่งรวมถึงศักยภาพและความสามารถขององค์กรทั้งด้านองต์ความรู้ เงินทุน และการทำงานร่วมกันใน 4 รูปแบบ คือ

  1. ต้นแบบด้านการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศให้เห็นผลอย่างเป็นรูปประธรรมและสามารถขยายผลเป็นแบบอย่างขององค์กรอื่นๆโดย SCG เข้าไปมีส่วนร่วมดำเนินการตั้งแต่วิเคราะห์ปัญหาวางแผนงานและร่วมดำเนินงานในทุกกระบวนการจนประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
  2. เสริมสร้างศักยภาพและยกระดับชีวิต โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อแก้ไขปัญหาหรือยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่สังคมในวงกว้างโดยใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เฉพาะทางทางนี้ SCG เข้าไปมีส่วนร่วมในบางเรื่องและสามารถขยายผลหรือนำไปต่อยอดได้
  3. เสริมสร้างศักยภาพและยกระดับชีวิต โดยการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตหรือเสริมสร้างศักยภาพในด้านต่างๆของสังคมโดยพนักงาน SCG เข้าไปมีส่วนร่วมขับเคลื่อนโครงการจนเกิดผลสำเร็จและขยายไปสู่ภาคส่วนต่างๆ
  4. ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของสังคมรวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยในสังคมให้ดียิ่งขึ้นด้วยการสนับสนุนองค์กรที่ได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถด้านการบริหารจัดการกิจกรรมสาธารณประโยชน์

โครงการเพื่อสังคมที่สอดคล้องกับกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนและประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญ (Enterprise Materiality) ของเอสซีจี

ท่ามกลางสภาพอากาศแปรปรวน ทรัพยากรทั่วโลกขาดแคลน และ ความเหลื่่อมล้ำในสัังคมที่กำลังขยายวงกว้าง ตลอดจน สถานการณ์แพร่่ระบาดของโควิิด 19 กลายเป็นวิกฤตครั้้งใหญ่ เอสซีจี ในฐานะพลเมืองของโลก ถือเป็นหน้าที่่และความรัับผิดชอบ ขององค์กร ที่จะผลักดันการดำเนินงานในทุกระดับให้เติบโต ควบคู่ กับสังคมที่เข้มแข็งและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน พร้อมร่วมมือกับ ทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่่อน ESG (Environmental, Social, Governance) กรอบพัฒนาที่เป็นมาตรฐานการดำเนินธุุรกิจระดัับโลกสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่่ยั่่งยืน SDGs (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ และโมเดลเศรษฐกิจใหม่ อย่่างยั่่งยืนของรัฐบาลไทย (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่ “ESG 4 Plus” เพื่่อส่่งมอบโลกที่น่าอยู่และยั่งยืนให้คนรุ่นต่อไป

โครงการด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสําคัญสูงขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา ทําให้มีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย และโอกาสของการมุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เอสซีจีจึงตั้งเป้าหมายการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 และตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกับ Science Based Target ซึ่งอยู่ระหว่างการทวนสอบ โดยยังคงมุ่งมั่นดำเนินการตามกลยุทธ์และ มาตรการต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องลดการปล่อย GHG ตามข้อตกลงปารีสและ SDGs 7, 9, 12, 13 และ 15 เอสซีจีให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องและสร้างมูลค่าร่วมกันตลอดห่วงโซ่คุณค่าโดยมุ่งมั่นที่จะลด GHGs และกลายเป็น Net Zero ภายในปี 2050 ส่วนหนึ่งของความพยายามมีดังนี้:

  1. เอสซีจีเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานคาร์บอนต่ำ อย่างเช่นพลังงานชีวมวล (Biomass) เชื้อเพลิงจากขยะ (RDF) การใช้ลมร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต (Waste Heat Generator) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy)  
  2. เอสซีจีเดินหน้าลงทุนวิจัยในเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) การใช้ปัญญาประดิษฐ์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานทดแทน (AI Supervisory for Energy Analytics) ศึกษาการใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS)
  3. จัดตั้งธุรกิจ SCG Cleanergy ให้บริการ โซลูชันผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งแสงอาทิตย์และลม ทั้งในไทยและต่างประเทศ
  4. เอสซีจีร่วมปลูกต้นไม้ลดโลกร้อน 3 ล้านไร่ และป่าโกงกาง 3 หมื่นไร่ เพื่อดูดซับ 5 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในปี 2593 และสร้างฝายชะลอน้ำเพิ่มเป็น 130,000 ฝาย ภายในปี 2568 เพื่อฟื้นความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ป่าต้นน้ำ

โดยในปี 2564 สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ประมาณ 0.9 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์ ทำได้ดีขึ้นร้อยละ 2.66 เมื่อเทียบกับปี 2563

การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ more details...

โครงการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน

            จากความท้าทายระดับโลกเรื่องผลกระทบจากปัญหาขยะและการขาดแคลนทรัพยากร เอสซีจีจึงให้ความสำคัญกับการนำเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้หลักการ “ผลิต-ใช้-วนกลับ” มาเป็นกลยุทธ์หลักประการหนึ่งในการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เกี่ยวกับการผลิตและการบริโภคอย่างรับผิดชอบ 

วิกฤตขยะได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงและการขาดแคลนทรัพยากรทั่วโลกที่รุนแรงขึ้น เอสซีจีมุ่งมั่นส่งเสริมการจัดการขยะอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับ SDGs 8 9 & 12 ที่เราใส่ใจและสร้างมูลค่าร่วมกันตลอดห่วงโซ่คุณค่ามาอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคตามแนวทาง SCG Circular ให้เป็นแนวทางที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืน ผลกระทบ ส่วนหนึ่งของความพยายามมีดังนี้:

  1. เทคโนโลยีการก่อสร้างที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม (Green Construction Solution) เป็นหนึ่งในโครงการเพื่อสร้างมูลค่าและลดการใช้ทรัพยากร ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคาร (BIM) และการพิมพ์ 3 มิติ ที่ถือเป็นนวัตกรรมการก่อสร้างที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในภาคการก่อสร้างของประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น แก้ปัญหาการก่อสร้างที่ไม่มีประสิทธิภาพ การก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีที่ล้าสมัย และการก่อสร้างที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  2. เชื้อเพลิงแข็งทดแทนจากขยะชุมชน (Refuse Derived Fuel) โดยจัดตั้งโรงงานคัดแยกขยะที่บ่อขยะชุมชน และปรับปรุงขยะแยกส่วนที่เผาไหม้ได้เพื่อนำมาแปรรูปและอัดก้อนแข็งเป็นเชื้อเพลิงใช้แทนถ่านหินในเตาผลิตปูนเม็ดของโรงงานปูนซีเมนต์เทา ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยังช่วยลดปัญหาขยะของเสียตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน นอกจากนี้ ยังมีโครงการรับซื้อวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่รอบโรงงาน เช่น ฟางข้าว ใบอ้อย ซังข้าวโพด นำมาแปรรูปเป็นเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวล (Energy Pellet) เพื่อทดแทนการใช้ถ่านหิน.
  3. SCG Green PolymerTM คือ นวััตกรรมเม็ดพลาสติกที่ตอบโจทย์ความเป็นมิิตรต่่อสิ่งแวดล้้อมด้วยการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองฉลาก SCG Green Choice ภายใต้หลัก “เศรษฐกิจหมุนเวียน”
  4. เอสซีจี SCG ยกระดับเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ธุรกิจ ด้วยการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล อาทิ PaperX, KoomKah ด้วยการส่งคืนและรีไซเคิลของเสียให้เป็นวัตถุดิบในการดำเนินงานของ เอสซีจี
  5. เอสซีจี บางซื่อโมเดล  ถอดบทเรียนที่ได้เรียนรู้และขยายผลไปสู่ชุมชนอื่น ๆ ด้วยโครงการชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ โดยสร้างความร่วมมือทั้งภาคราชการและภาคประชาชน สร้างชุมชนต้นแบบ เพื่อขยายผลสู่วงกว้างต่อไป

เศรษฐกิจหมุนเวียน more details...

โครงการด้านลดเหลื่อมล้ำและความปลอดภัย

            เอสซีจีให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคมที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและคุณภาพชีวิต การเสริมสร้างสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งสะท้อนถึงคุณภาพชีวิตอันเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับ SDGs3 & 8 ในการสร้างมูลค่าร่วมกันตลอดห่วงโซ่คุณค่ามาอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งของความพยายามมีดังนี้:

  1. ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 เอสซีจีตระหนักถึงความเร่งด่วนของทุกภาคส่วนในการเผชิญกับวิกฤตนี้ จึงได้ริเริ่มและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมเพื่อต่อสู้กับโรคระบาดแก่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ระดับแนวหน้าทั้งในประเทศและระดับภูมิภาค เช่น ห้องคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยง (Modular Screening & Swap Unit) , Mobile Isolation Unit ซึ่งใช้ระบบความดันอากาศแยกพื้นที่ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์, เตียงสนามกระดาษ SCGP และ Modular ICU สำหรับผู้ป่วยขั้นวิกฤต
  2. เอสซีจีมุ่งมั่่นเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือวิกฤตที่เกิดขึ้นใน สังคมที่่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพ และคุณภาพชีวิตของผู้คน ด้วย การลดความเหลื่่อมล้้ำทางสัังคม ผ่านการให้ความรู้ เสริมทักษะ สร้างอาชีพที่่เป็นที่่ต้องการของตลาด ผ่านโครงการต่าง ๆ เพื่อยกระดับ คุุณภาพชีวิต สร้างชุุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ทั้งในไทยและอาเซียน เช่น อาชีพพนักงานขับรถบรรทุุก อาชีพช่างปรับปรุุงบ้าน อาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์และขายสินค้า ออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้ง การมอบทุนการศึกษา โดยมูลนิธิเอสซีจี เช่น อาชีพผู้ช่วยพยายาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ นักบริบาลผู้สูงอายุ นอกจากนี้ เอสซีจียังมอบทุุนการศึกษาอาชีพที่ขาดแคลนให้ เยาวชนในอาเซียน เช่น แพทย์์พยาบาล วิศวกร ครูู
  3. พลังชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นหลักสูตรอบรมวิสาหกิจชุมชุน เสริมความรู้คู่คุณธรรม ตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างแรงบันดาลใจให้ชุุมชนพัฒนา ตนเอง ต่อยอดแปรรููปผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่่าเพิ่่ม สร้าง อัตลักษณ์สินค้าให้โดดเด่น รู้จักตลาดก่อนผลิตและขาย สร้างแบรนด์สินค้า และขยายช่องทางการขายผ่านออนไลน์ตลอดจนวิธีการวางแผนสำหรับอนาคตของพวกเขา
  4. ความปลอดภัยในการขนส่ง ความปลอดภัยในการคมนาคมขนส่ง ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและพยายามบริหารจัดการโดยปลูกฝังแนวคิดด้านความปลอดภัย ตลอดจนสร้างทักษะและความสามารถในการขับขี่ระหว่างพนักงาน ผู้ขับขี่ตลอดห่วงโซ่คุณค่า และผู้คนในชุมชนเพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนใช้เส้นทางสาธารณะร่วมกันอย่างความปลอดภัย.

ลดเหลื่อมล้ำและความปลอดภัย more details…