สร้างความร่วมมือและนวัตกรรม เพื่อหมุนเวียนทรัพยากรอย่างยั่งยืน

เป้าหมาย

  • การใช้วัสดุนำกลับมาใช้ใหม่และวัสดุหมุนเวียน 8 ล้านตันต่อปีในปี 2568*
  • ปริมาณขยะของสำนักงานใหญ่บางซื่อ ที่ต้องนำไปฝังกลบเท่ากับ 0 ตัน (Zero Waste to Landfill) ในปี 2564*
  • SCGP (ธุรกิจแพคเกจจิ้ง) มีสัดส่วนสินค้าที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ใช้ซ้ำหรือสลายตัวได้ 100% ในปี 2568
  • ธุรกิจเคมิคอลส์มีปริมาณการขายสินค้ากรีนพอลิเมอร์ 200,000 ตันต่อปีในปี 2568 และ 1,000,000 ตันต่อปีในปี 2573
    * เฉพาะประเทศไทย

ผลงาน ปี 2565

  • การใช้วัสดุนำกลับมาใช้ใหม่และวัสดุหมุนเวียน 8.06 ล้านตัน
  • SCGP (ธุรกิจแพคเกจจิ้ง) มีสัดส่วนสินค้าที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ใช้ซ้ำหรือสลายตัวได้ 99.8%
  • SCGC (ธุรกิจเคมิคอลส์) มีปริมาณการขายสินค้ากรีนพอลิเมอร์ (SCG GREEN POLYMERTM) 137,125 ตันต่อปี

กลยุทธ์

  • การพัฒนาสินค้าและบริการตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อสร้างและรักษาคุณค่าของวัสดุหรือทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • การรวบรวมและจัดการของเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
  • การปรับเปลี่ยนสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

การบริหารจัดการ

  • การตั้งคณะกรรมการเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อกำกับดูแลและสร้างปัจจัยความสำเร็จของเศรษฐกิจหมุนเวียนใน 5 ด้าน ได้แก่ การสร้างความตระหนัก การสร้างความร่วมมือ การกำหนดข้อบังคับการสร้างนวัตกรรม และการสร้างระบบบริหารจัดการและประเมินผล

เอสซีจีให้ความสำคัญกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยดำเนินการภายใต้หลักการ“ผลิต-ใช้-วนกลับ” เพื่อจัดการและรับมือกับปัญหาขยะ การขาดแคลนทรัพยากรของโลกและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศผ่านการส่งเสริมแนวปฏิบัติ SCG Circular Way ที่สร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง และใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างคุณค่าให้ทรัพยากรอย่างสูงสุดและจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ

แปรรูปหัวเสาเข็มจากการก่อสร้างให้มีมูลค่า

ในงานก่อสร้างโครงสร้าง เศษเสาเข็มคอนกรีตเป็นของเสียที่มีน้ำหนักมากที่สุดซึ่งเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และจะถูกกำจัดโดยการนำไปฝังกลบภายใต้ความรับผิดชอบของเจ้าของโครงการ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จึงนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยจัดทำ Pile Waste Module ซึ่งเป็นวิธีจัดการเศษเสาเข็มเพื่อลดการนำเศษเสาเข็มคอนกรีตไปฝังกลบ โดยนำมาผ่านกระบวนการบดย่อย และนำไปใช้แทนวัสดุก่อสร้างในงานต่างๆ เช่น วัสดุรองพื้นทางสำหรับทำถนน/ที่จอดรถ แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป ฯลฯ โดยมีคุณสมบัติเทียบเท่าคอนกรีตปกติช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดมลภาวะลดการขนส่งเพื่อนำไปกำจัด และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกกระบวนการนับเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ของจัดการเศษเสาเข็มตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

Pile Waste Module เกิดจากความร่วมมือระหว่างธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างกับเจ้าของโครงการ ผู้พัฒนาโครงการ และผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยตั้งแต่ปี 2563-2564 มีโครงการก่อสร้างอาคารเข้าร่วมแล้ว 22 โครงการจาก 11 บริษัท เฉพาะในปี 2564 ได้เข้าไปจัดการเศษเสาเข็มและนำไปบดย่อยเพื่อเป็นวัสดุก่อสร้างลานจอดรถของบริษัท Covestro Thailand และเป็นวัสดุรองพื้นทางของ Central จันทบุรี รวมการนำเศษเสาเข็มจากโครงการต่างๆ กลับมาใช้ใหม่ทั้งสิ้นจำนวน 14,096 ตัน คิดเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 1,397 ตันคาร์บอนไดออกไซด์

ระบบเสาคานสำเร็จรูป จากการหล่อเสาคานด้วยไม้แบบซึ่งต้องติดตั้งในพื้นที่งานก่อสร้าง ทำให้เกิดของเสีย เช่น ไม้แบบ เศษคอนกรีต และควบคุมคุณภาพได้ยาก รวมทั้งยังใช้เวลาก่อสร้างนาน ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างจึงคิดค้นโซลูชันระบบเสาคานสำเร็จรูป (Structure Solution) เพื่อลดความยุ่งยากในงานก่อสร้าง ลดเวลาและลดการใช้ไม้แบบลงอย่างน้อย 90% ซึ่งเท่ากับช่วยลดของเสียในงานก่อสร้างพร้อมกับได้งานที่มีคุณภาพ ช่วยให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้น ตอบโจทย์การบริหารจัดการทรัพยากรและเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า

SCG GREEN POLYMERTM

ธุรกิจเคมิคอลส์สร้างสรรค์และพัฒนาโซลูชันนวัตกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกด้วยหลัก 4Rs และหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนนำ เสนอภายใต้ผลิตภัณฑ์ชื่อ SCG GREENPOLYMERTM ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏชีวิตของผลิตภัณฑ์ มีมาตรการดูแลตั้งแต่การออกแบบ การผลิตการตลาด การขนส่ง การจัดเก็บเคลื่อนย้ายการใช้สินค้า การนำกลับมารีไซเคิล และการนำไปกำจัดเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่สนใจสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจเคมิคอลส์ในตลาดโลกคุณสมบัติสำคัญของเม็ดพลาสติกภายใต้ SCG GREENPOLYMERTM ประกอบด้วย Reduce–ลดการใช้วัตถุดิบพลาสติกแต่ยังคงความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ด้วย SMX Technology Recyclable–ออกแบบให้นำบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สิ้นสุดอายุการใช้งานนำกลับมารีไซเคิลได้ด้วยการใช้วัสดุพอลิเมอร์ชนิดเดียว Recycle–การนำพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนกลับมาบดย่อยเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตใหม่และ Renewable–การพัฒนาพลาสติกชีวภาพ(Bioplastic) ซึ่งใช้ทรัพยากรที่เกิดขึ้นมาใหม่ตามธรรมชาติและย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ

นวัตกรรมกระดาษเพื่อลดการใช้ทรัพยากร

SCGP (ธุรกิจเเพคเกจจิ้ง) มุ่งมั่นพัฒนากระดาษและบรรจุภัณฑ์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยนำวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วกลับมาใช้ใหม่ผ่านการควบคุมการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาเป็นกระดาษและบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยลดปริมาณการใช้ทรัพยากร แต่ยังคงคุณภาพตามมาตรฐาน

  • กระดาษ Spring และ Idea Green กระดาษถ่ายเอกสาร 80 แกรม คุณภาพพรีเมี่ยม ผลิตจากเยื่อ Ecofiber 50% ได้รับมาตรฐาน มอก. ฉลากเขียวและ SCG Green Choice
  • กระดาษทำผิวกล่อง TS (TS–Kraft Liner) ใช้เศษกระดาษหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ 100%มีน้ำหนักเบา ได้รับฉลาก SCG Green Choice
  • กระดาษรังผึ้ง (Honeycomb Paper Band) ใช้เป็นแผ่นรองสินค้าหรือแผ่นเสริมเพื่อลดพื้นที่ว่างในบรรจุภัณฑ์ ลดการใช้กระดาษต่อปริมาตรอย่างน้อย 30% ได้รับฉลาก SCG Green Choice

สร้างความร่วมมือกับพันธมิตรต่อยอดแนวคิด SCG Circular Way

  • SCGP reXycle Drop Point SCGP (ธุรกิจแพคเกจจิ้ง) ร่วมมือกับพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการโดยในปี 2564 มีจุดติดตั้ง Drop Point กว่า 50 แห่ง เช่น โครงการ Waste to Wisdom ของธนาคาร UOB โครงการรีไซเคิลกระดาษของเครือโรงพยาบาลพญาไททั้ง 5 แห่ง และร่วมกับบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) เปิด “จุดรับเศษกระดาษและขวดพลาสติก PET เหลือใช้”ในปั๊มน้ำมัน PT จำนวน 5 สาขา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ได้รับขยะกระดาษจำนวน 500 กิโลกรัม และขวดพลาสติก PET จำนวน 150 กิโลกรัม
  • ถ. ถุงทนทาน Closed-loop Recycling Model ธุรกิจเคมิคอลส์ร่วมกับบริษัทซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) พัฒนาถุงพลาสติกที่แข็งแรง ทนทานใช้ซ้ำได้ โดยนำพลาสติกใช้แล้วในกระบวนการขนส่งสินค้าของ ซีพี ออลล์ กลับสู่กระบวนการรีไซเคิลเป็นวัสดุสำหรับการผลิตถุงพลาสติกใหม่ ซึ่งจะไม่มีวัสดุพลาสติกหลุดออกภายนอก เกิดการหมุนเวียนภายใน นับเป็นโมเดลต้นแบบในการรีไซเคิลแบบระบบปิด (Closed-loop Recycling Model) ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก ลดการใช้ทรัพยากรใหม่ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยธุรกิจเคมิคอลส์หวังขยายโมเดลนี้สู่องค์กรอื่นๆ เพิ่มขึ้นในอนาคต

https://www.scg.com/sustainability/circular-economy/