มุ่งมั่นเปลี่ยนผ่านพลังงานสู่ Net Zero

วาระสำคัญในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สมัยที่ 26 (COP 26) ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคมถึง 12 พฤศจิกายน 2564 คือ
การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ของโลก


ในเวที COP 26 ประเทศไทยแสดงเจตจำนงที่จะแก้ปัญหาร่วมกับประชาคมโลกอย่างจริงจัง พร้อมจะยกระดับ
การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน โดยกำหนดเป้าหมายหลักว่าประเทศไทยจะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) และบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) ภายในปี 2608 (ค.ศ. 2065)


เอสซีจีได้กำหนดการเป็นองค์กรการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 และมีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของ Scope 1+2 ลงอย่างน้อย 20% ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2563โดยครอบคลุมทั้งธุรกิจในประเทศไทยและต่างประเทศ เอสซีจีพร้อมร่วมมือกับทุกๆ ฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นวาระสำคัญของชาติและของโลก

Greenhouse Gas Scope 1+2
เอสซีจีใช้ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานในกระบวนการ
ผลิต โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) 90%
และทางอ้อม (Scope 2) 10% จากการซื้อพลังงานจาก
ภายนอก สำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงมาจาก 2 ส่วน คือกระบวนการทางเคมีของการผลิตปูนซีเมนต์ (Calcination) และการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

นับตั้งแต่ปี 2540 ที่นานาชาติร่วมลงนามในข้อตกลงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพิธีสารเกียวโต ทั่วโลก
ก็เริ่มตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหาขีดจำกัดของแหล่งพลังงานในอนาคต เอสซีจี
จึงริเริ่มพัฒนาพลังงานทดแทนมาใช้ตั้งแต่ปี 2544 จากการนำยางรถยนต์ใช้แล้วมาเป็นเชื้อเพลิงทดแทน และได้
เพิ่มขีดความสามารถการใช้พลังงานทดแทนมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้เชื้อเพลิงชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้
ทางการเกษตร ทั้งกะลาปาล์ม แกลบ ฟางข้าว ใบอ้อยการผลิตไฟฟ้าจากความร้อนเหลือทิ้งในกระบวนการผลิต
(Waste Heat Power Generation, WHG) การผลิตก๊าซชีวภาพจากการบำบัดน้ำเสีย ฯลฯ

การพัฒนาพลังงานทดแทนที่โดดเด่นของเอสซีจี ในปี 2555 คือเชื้อเพลิงแข็งทดแทนจากขยะชุมชน (Refuse
Derived Fuel) โดยจัดตั้งโรงงานคัดแยกขยะที่บ่อขยะ ชุมชน และปรับปรุงขยะแยกส่วนที่เผาไหม้ได้เพื่อนำมา
แปรรูปและอัดก้อนแข็งเป็นเชื้อเพลิงใช้แทนถ่านหินในเตาผลิตปูนซีเมนต์ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกแล้วยังช่วยลดปัญหาขยะของเสียด้วย ก่อนที่วันนี้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนจะกลายเป็นแนวทางสำคัญ
ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การลดการใช้พลังงานโดยการปรับปรุงประสิทธิภาพอุปกรณ์และกระบวนการผลิต เป็นอีมาตรการสำคัญที่เอสซีจีดำเนินการอย่างแข็งขัน รวมถึงสนับสนุนพนักงานให้มีส่วนร่วมคิดค้นและพัฒนาโครงการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานผ่านการส่งผลงานเข้าประกวดในโครงการ Energy Award

จนมาถึงก้าวย่างสำคัญของเอสซีจีที่เกิดขึ้นในปี 2559 คือการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) ซึ่งถือเป็นพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพสูงในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย และเป็นความหวังของการตอบโจทย์ความมั่นคงทางพลังงานในอนาคต

Solar
ประเทศไทยมีศักยภาพรับพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ในเกณฑ์สูง คือมีค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ที่ 18.2 เมกะจูลต่อ
ตารางเมตรต่อวัน เฉพาะพื้นที่จังหวัดสระบุรีมีค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์เฉลี่ยที่ 18.5 เมกะจูลต่อตารางเมตรต่อวัน
สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ เอสซีจีจึงวางนโยบายและผลักดันเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ที่ถือเป็น
พลังงานสะอาด ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเต็มตัว

เอสซีจีติดตั้งการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์มาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันทั้งหมด 114,176 เมกะวัตต์ชั่วโมงสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 57,077 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เริ่มต้นจากการติดตั้งบนบก การติดตั้งบนหลังคา และขยายสู่บริเวณบ่อน้ำในโรงงาน ซึ่งถือเป็นความท้าทายและก้าวใหม่ของเทคโนโลยีโซลาร์ฟาร์ม ในนาม “โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ”ซึ่งต้องอาศัยนวัตกรรมการติดตั้งที่แตกต่างจากบนพื้นดินหรือหลังคาอาคาร

แนวคิดจุดประกายจากการสังเกตเห็นผิวน้ำของแหล่งน้ำที่ว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ประกอบกับความเชี่ยวชาญด้านวัสดุพลาสติกของธุรกิจเคมิคอลส์ จึงพัฒนาทุ่นพลาสติกลอยน้ำสำหรับเป็นฐานให้กับแผงโซลาร์เซลล์โดยทุ่นต้องแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งานกลางแดดจัดลอยตัวดีพร้อมรองรับน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์

สิ่งสำคัญคือความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีอายุใช้งานนานถึง 25 ปี และรีไซเคิลได้ ในการติดตั้งยังกำหนดให้มีพื้นที่เปิดระหว่างทุ่นมากกว่าร้อยละ 30 เพื่อให้สิ่งมีชีวิตใต้น้ำได้รับแสงธรรมชาติอย่างเพียงพอ

ธุรกิจเคมิคอลส์ริเริ่มพัฒนานวัตกรรมทุ่นลอยน้ำสำหรับโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำขึ้นเป็นรายแรกในประเทศไทย ติดตั้งที่
บ่อเก็บน้ำในโรงงานของเอสซีจี สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ เมื่อปี 2561 เป็นแห่งแรก และกลายเป็นต้นแบบให้กับ
โรงงานอีกหลายแห่ง เช่น โรงงานของธุรกิจเคมิคอลส์จังหวัดระยอง วัดศรีแสงธรรม จังหวัดอุบลราชธานีเหมืองแม่ทาน จังหวัดลำปาง นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี ฯลฯ

โครงการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มขยายการติดตั้งสู่พื้นที่โรงงานอีกหลายแห่งของเอสซีจี พร้อมๆ กับการจัดทำ
โครงการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารหรือโซลาร์รูฟทอป(Solar Rooftop) จนเอสซีจีเกิดความเชี่ยวชาญนำมาต่อยอดเป็นโซลูชันติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์เซลล์ให้บริการแก่อาคารที่พักอาศัยทั่วไปภายใต้ธุรกิจใหม่ชื่อ SCG Solar
Roof Solutions ในปี 2562 และด้วยสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตอยู่กับบ้านบริการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในปี 2563 จึงมียอดขายเติบโตสูงถึงประมาณ 3 เท่าจากปี 2562

แนวโน้มและความต้องการของพลังงานสะอาดมีมากขึ้นเอสซีจีได้ขยายการดำเนินธุรกิจไปสู่การให้บริการพลงั งาน
ทดแทนและพลังงานสะอาด ในนามบริษัท SCG Cleanergyที่ให้บริการครบวงจร ด้วยความรู้ ศักยภาพ และเครือข่าย
แก่ลูกค้า เพื่อช่วยกันส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

BCG
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 เป็นเรื่องยาก แต่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ ปัจจัยสำคัญคือความมุ่งมั่นตั้งใจ โดยเฉพาะการมีนโยบายและทิศทางการดำเนินงานที่เหมาะสม

หนึ่งในนโยบายสำคัญระดับประเทศคือ โมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งได้รับการยอมรับว่าจะช่วยยกระดับความมั่นคงด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม พร้อมๆ กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน มีหลักสำคัญคือการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลิต-ใช้-วนกลับ ซึ่งเป็นหลักการที่เอสซีจีได้ดำเนินการมานานและสอดคล้องกับการจัดการพลังงานของเอสซีจีในการเพิ่ม
สัดส่วนเชื้อเพลิงทดแทนจากวัสดุเหลือทิ้งหรือขยะของเสียล่าสุดเอสซีจีมีโครงการรับซื้อวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
ในพื้นที่รอบโรงงาน เช่น ฟางข้าว ใบอ้อย ซังข้าวโพด นำมาแปรรูปเป็นเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวล (Energy Pellet) เพื่อทดแทนการใช้ถ่านหิน ซึ่งช่วยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรแทนการเผาทำลายที่ไม่เกิดรายได้ และส่งผลกระทบที่
สำคัญคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและฝุ่น PM 2.5ซึ่งเป็นวิกฤตปัญหาใหม่ทางสิ่งแวดล้อมของไทยในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา

Green Economy หรือเศรษฐกิจสีเขียว การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่ช่วยลดผลกระทบที่มีต่อโลก ซึ่งเอสซีจี
เน้นการวิจัยและพัฒนา การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างสมดุลในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การพัฒนาพลังงานทดแทนรูปแบบต่างๆ การพัฒนาพลังงาน
แสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ และการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในทุกส่วนของโรงงาน

จากยุคที่เทคโนโลยีช่วยมนุษย์ทำงานกำลังก้าวสู่ยุคที่เทคโนโลยีทำงานแทนมนุษย์ เช่น การใช้ระบบออโตเมชัน
โรบอต ที่มีระบบเซนเซอร์ AI Machine Learning ควบคุมและปรับแต่งการทำงานของเครื่องจักรอุปกรณ์อย่างแม่นยำ
สามารถลดการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นไปอีกจากการควบคุมดูแลที่ผ่านมาโดยมนุษย์

นอกจากนี้เศรษฐกิจสีเขียวยังรวมถึงการเปลี่ยนผ่านการใช้อุปกรณ์ที่อาศัยพลังงานฟอสซิลมาสู่อุปกรณ์พลังงาน
ไฟฟ้า โดยเฉพาะรถไฟฟ้า ซึ่งเอสซีจีได้ริเริ่มนวัตกรรมรถโม่พลังงานไฟฟ้า (EV Mixer Truck) คันแรกของไทย มาใช้
ขนส่งคอนกรีตด้วยพลังงานสะอาด ลดมลพิษและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 และPM 10 ได้ถึง 45 กรัมต่อการขนส่ง 1 เที่ยว ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 26.5 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีต่อคัน ซึ่งถือเป็นการพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างด้วย Green Solution ตามวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนที่ยึดหลัก ESG (Environmental, Social, and Governance) และมุ่งมั่นที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (GHG Emissions Scope 3) ในกิจกรรมการขนส่งและกระจายวัตถุดิบต้นน้ำและสินค้าปลายน้ำ

สิ่งท้าทายบนเส้นทางสู่อนาคต คือการลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการระยะสั้น เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ยังมีราคาสูง และการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ ประชาชน สังคม ให้ร่วมใจกันบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ภายในงาน COP 26 รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี แสดงความมุ่งมั่นตั้งใจของเอสซีจีไว้ว่า

“หัวใจสำคัญคือการผนึกกำลังของทุกภาคส่วน ทุกคนต้องช่วยกัน ค่อยๆ ร่วมกันดำเนินการและจัดทำแผนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเป็นระยะ พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเปลี่ยนจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง”

การเปลี่ยนผ่านนี้อาจไม่ง่าย แต่เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เอสซีจีพร้อมเดินทางเผชิญกับความท้าทายนี้ร่วมกับทุกคน