มุ่งสร้างธรรมชาติเชิงบวก

เอสซีจีตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ  เราจึงมุ่งมั่นพัฒนากลยุทธ์ด้านธรรมชาติเพื่อบริหารจัดการ เรื่องการพึ่งพาธรรมชาติ ผลกระทบต่อธรรมชาติ รวมถึงความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้อง ตามกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ที่มีวิสัยทัศน์ในการสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างสอดคล้องและเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ภายในปี พ.ศ. 2593

ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศต่อความยั่งยืนของโลก เป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ กำลังส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อสมดุลในธรรมชาติและการดำรงชีวิตของมนุษย์ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเอสซีจีจึงมุ่งมั่นตั้งใจในการดูแลรัเอสซีจี มีความพยายามในการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการฟื้นฟูระบบนิเวศ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมถึงการใช้ดัชนีชี้วัดระดับสากลเป็นเกณมาตรฐานในการดำเนินงาน โดยมุ่งหวังว่าเอสซีจีจะสามารถเป็นแบบอย่างด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และสามารถปรับตัวต่อภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้

Commitment

Net Positive Impact” in all processes

  • 100%
    No Deforestation
    No gross (lumber products)
    No net (construction materials)
  • 10%
    FSC™-certified biodiversity conservation forest areas of total plantation area
  • 100%
    FSC™-certified  Controlled Wood
  • 100%
    Mine rehabilitation plan
  • 60%
    Similarity Index
    between restored mining areas and natural forest in the buffer zones
    (For limestone mines in Thailand)
  • 100%
    Biodiversity Management Plan (BMP)
    Internal audit by Quarry Rehabilitation and Biodiversity Committee
    (For limestone mines in Thailand)

3 million rais
Preservation and Restoration area by 2050

การประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

เอสซีจี ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของ TNFD ในการใช้ LEAP approach (Locate, Evaluate, Assess, and Prepare) ในการประเมินอย่างเป็นระบบเพื่อวิเคราะห์ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ

Locate – พิจารณาว่าลักษณะการดำเนินธุรกิจในพื้นที่นั้นๆ มีผลกระทบต่อธรรมชาติอย่างไร

Evaluate – พิจารณาด้านการพึ่งพาธรรมชาติ และการสร้างผลกระทบต่อธรรมชาติ
Assess – ประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่อาจเกิดกับธุรกิจ จากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดในล้อมด้านต่างๆ
Prepare – พัฒนากลยุทธ์ แนวทาง และเป้าหมาย ในการลดการพึ่งพาธรรมชาติ ลดการสร้างผลกระทบ และบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น พร้อมวางแผนตรวจติดตามผลการดำเนินงาน
เอสซีจี วิเคระห์และจัดลำดับความสำคัญตามลักษณะการดำเนินธุรกิจ ผ่านเครื่องมือตามแนวทางของ TNFD อาทิ ENCORE tool, GIS analysis, and WWF BRF.

ขอบเขตของการประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

เอสซีจี คัดเลือกพื้นที่ตลอดห่วงโซ่อุปทาน สำหรับนำมาประเมินประเด็นด้านธรรมชาติ โดยคัดเลือกมาทั้งสิ้น 52 พื้นที่ จาก 5 ประเภทธุรกิจย่อย  คิดเป็น 65% ของรายได้ในปีพ.ศ. 2567

เกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ อาทิ อยู่ใกล้กับพื้นที่ธรรมชาติที่สำคัญ  การดำเนินงานมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ มีผลประกอบการดี เป็นต้น

การพึ่งพาและผลกระทบ

โดยพื้นฐาน ลักษณะการดำเนินธุจกิจทั้ง 5 ประเภทธุรกิจย่อย จะมีลักษณะการพึ่งพาธรรมชาติในหลายระดับ เช่น ·High-Priority Dependencies เช่น การใช้น้ำ ซึ่งต้องพึ่งพาทั้งปริมาณน้ำฝน คุณภาพน้ำ การไหลของน้ำตามธรรมชาติ และกลไกการป้องกันน้ำท่วม เป็นต้น ·Medium-Priority Dependencies เช่น การใช้ประโยชน์จากชีวมวล กลไกการควบคุมสภาพภูมิอากาศของธรรมชาติ การกรองอากาศ คุณภาพดิน การป้องกันการพังทลายของดิน และกลไกการป้องกันพายุ เป็นต้น ·Low-Priority Dependencies เช่น การใช้ประโยชน์จากพันธุกรรม การคงอยู่ของประชากรพืชและสัตว์ เป็นต้น

และมีโอกาสสร้างผลกระทบต่อธรรมชาติ หากไม่มีมาตรการควบคุม ดังนี้

·High-Priority Impacts เช่น การใช้น้ำ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปล่อยมลพิษ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คุณภาพอากาศ และการใช้ทรัพยากรธรมชาติ

·Medium-Priority Impacts เช่น การใช้ประโยชน์พื้นที่ การปล่อยมลกิษที่เป็นอันตรายต่อน้ำและดิน การปล่อยกากอุตสาหกรรม และการรบกวนธรรมชาติ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ

·Low-Priority Impacts เช่น การใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การนำเข้าชนิดพันธุ์รุกราน เป็นต้น

เอสซีจี มีการประเมินความเสี่ยงทั้ง 8 ด้าน ตาม TNFD Guideline ประกอบกับข้อมูลการพึ่งพาธรรมชาติ ผลกระทบต่อธรรมชาติ และมาตรการลดผลกระทบ รวมถึงแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เราพัฒนา พบว่า ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีความเสี่ยงใดที่อยู่ในระดับสูง

ลำดับชั้นการลดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

การหลีกเลี่ยง

เอสซีจี มุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เรามีการพัฒนารูปแบบการทำเหมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า “Semi-Open Cut”. โดยมีการเว้นพื้นที่กันชน ประมาณ 50% ของพื้นที่ประทานบัตรเพื่อรักษาทัศนียภาพ และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงระบบนิเวศของพื้นที่เอาไว้ อีกทั้งยังใช้พื้นที่กันชนนี้เป็นต้นแบบในการฟื้นฟูเหมืองอีกด้วย

การลดผลกระทบ

เอสซีจี  ใช้โปรแกรมออกแบบการทำเหมือง “Minesight” เพื่อออกแบบการทำเหมืองให้มีการรบกวนธรรมชาติน้อยที่สุด โดยจะเปิดหน้าเหมืองเฉพาะพื้นที่ที่จำเป็น และวางแผนฟื้นฟูเหมืองทันทีเมื่อสิ้นสุดการทำเหมือง อีกทั้ง ยังกำหนดมาตรการลดผลกระทบ อาทิ กำหนดความเร็วรถบนเหมือง กำหนดเวลาระเบิด การใช้อุปกรณ์ถ่วงเวลาระเบิดเพื่อลดแรงสั่นสะเทือน เป็นต้น

การฟื้นฟู

เอสซีจี ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสถาบันเพื่อพัฒนาแผนฟื้นฟูเหมืองที่เหมะสมกับพื้นที่ แผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และแผนปิดเหมือง โดยให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งชนิดพันธุ์พืชที่ใช้ในงานฟื้นฟูเหมืองจะต้องเป็นพันธุ์พืชท้องถิ่น อีกทั้งยังมีการพัฒนาโครงการอนุรักษ์พันธุ์พืชเฉพาะถิ่นสำคัญเพื่ออนุรักษ์ชนิดพันธุ์หลักของพื้นที่นั้นๆอีกด้วย ในส่วนของธุจกิจบรรจุภัณฑ์ มีการกำหนดให้อนุรักษ์พื้นที่อย่างน้อย 10% ของพื้นที่สวนป่าเพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ ซึ่งจากการสำรวจพื้นที่อนุรักษ์ดังกล่าว พบว่า ดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อยู่ในระดับสูง

การปรับเปลี่ยน

เอสซีจี มีการร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเล ผ่านการปลูกป่าบก ป่าโกงกาง หญ้าทะเล ทำบ้านปลา และ บ้านปะการัง จากเทคโนโลยี SCG 3D printing ที่ออกแบบให้มีความคล้ายคลึงกับธรรมชาติ และเป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ปัจจุบันได้มีการวางบ้านปะการังไปแล้ว 1115 หลัง จากการสำรวจบ้านปะการังที่เกาะไม้ท่อน พบว่า มีตัวอ่อนมาเกาะถึง 800 โคโลนี และพบปลาจำนวน 15 ชนิด

เรามีการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่สำคัญ เช่น การทำแผนจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ หรือการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น

เอกสารดาวน์โหลด

Quarry Rehabilitation and Biodiversity Policy
SCG BIODIVERSITY MANAGEMENT PLAN
Quarry Rehabilitation and Biodiversity Policy
SCG BIODIVERSITY MANAGEMENT PLAN
SCG Biodiversity Exposure and Assessment
SCG Maetan Model 

SCG Smart Geen Mining