มุ่งมั่นยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย สู่ความเป็นเลิศ

อุบัติเหตุถึงขั้นสูญเสียวันทำงานเป็น “ศูนย์” คือเป้าหมายสูงสุดของเอสซีจีภายในปี 2565และเอสซีจียังมีเป้าหมายไม่มีอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตของพนักงานและคู่ธุรกิจในสถานที่ปฏิบัติงาน ในการเดินทางและขนส่ง รวมถึงไม่มีการเจ็บป่วยและโรคจากการทำงานในทุกๆ ปี


ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมาเอสซีจีมีระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่มีมาตรฐานสูงในการกำกับดูแล
ด้านความปลอดภัยอย่างจริงจัง และพัฒนานวัตกรรมมาช่วยลดความเสี่ยงในการทำงาน จนทำให้จำนวนอุบัติเหตุลดลงอย่างต่อเนื่อง


ในปี 2563 เอสซีจีได้ดำเนินการยกระดับระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้เป้าหมายที่ตั้งไว้เกิดขึ้นจริงด้วยความตระหนักดีว่าเป้าหมายนั้นมิใช่เป็นเพียงตัวเลขบนรายงาน แต่หมายถึง “คุณภาพชีวิตที่ดี”เพราะ “ทุกชีวิตมีค่า และทุกคนต้องกลับบ้านอย่างปลอดภัยและปราศจากการเจ็บป่วยและโรคจากการทำงาน”

ยกระดับ SCG Safety Frameworkเพื่อความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงาน
ในการดูแลความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงาน เอสซีจีได้ประกาศใช้ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของเอสซีจี (SCG Safety Framework) และกำกับดูแลด้วยการตรวจประเมินประสิทธิผลด้านความปลอดภัย (Safety Performance Assessment Program, SPAP) มาตั้งแต่ปี 2550 และมีการยกระดับมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง และใช้กำกับดูแลความปลอดภัยมาถึงปัจจุบัน

จากผลการตรวจประเมิน SPAP เปรียบเทียบกับอัตราการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด แม้จะพบว่าบริษัทที่มีผลการตรวจประเมิน
ในระดับสูงมีแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุที่ดีขึ้น แต่ก็ยังไม่อาจลดอัตราการบาดเจ็บถึงขั้นสูญเสียวันทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายได้

ปี 2563 เอสซีจีจึงทำการยกระดับ SCG Safety Framework โดยคณะกรรมการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการท􀀏ำงาน โดยมีแนวคิดยกระดับการประเมิน ลด ควบคุมความเสี่ยง รวมถึงจัดทำมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่เหมาะสมกับบริบทและความเสี่ยงของแต่ละธุรกิจ (Risk Based) และขับเคลื่อนการจัดการความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพอย่างเป็นระบบที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกันทั้งด้าน Operation Controควบคู่กับการยกระดับ Safety Culture ทั่วทั้งองค์กร และการตรวจประเมินที่วัดผลทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านความปลอดภัย โดยได้ทดสอบ (Dry Run) กับบริษัทนำร่องในทุกธุรกิจ ก่อนนำไปใช้จริงกับทุกบริษัทในปี 2564

การยกระดับครั้งนี้นับว่ามีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากมุ่งเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการน􀀏ำระบบไปปฏิบัติด้วยความรู้ความเข้าใจ มีวินัยในการปฏิบัติของพนักงานและคู่ธุรกิจทุกระดับจนเกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัย (System Drive Culture)ในระดับมาตรฐานของเอสซีจี (SCG Standard Level)

รวมถึงแสดงความมุ่งมั่นที่จะท้าทาย ยกระดับการนำไปปฏิบัติให้มีประสิทธิผลในระดับที่สูงขึ้นจนเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ และมีประสิทธิผลการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นเลิศอย่างแท้จริง

การตรวจประเมินประสิทธิผลด้านความปลอดภัย (Safety Performance Assessment Program, SPAP)
ที่ผ่านมาการตรวจประเมินประสิทธิผลด้านความปลอดภัยเป็นการตรวจประเมินการดำเนินการตามข้อกำหนดตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งพบว่าอาจทำให้บริษัทขาดความต่อเนื่องในการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมกับบริบทของตนเอง


การปรับเปลี่ยนรูปแบบการตรวจประเมินในครั้งนี้จะเน้นความเข้าใจวัตถุประสงค์ในการนำ SCG Safety Framework 2021 ไปปฏิบัติ โดยให้บริษัทประเมินและรับรองตนเองทุกปีสำหรับระดับมาตรฐาน และจัดทีมผู้ตรวจประเมินจากทุกธุรกิจไปประเมินเพิ่มเติมในกรณีที่บริษัทมีความมุ่งมั่นจะพัฒนาระบบไปสู่ระดับที่สูงกว่า โดยการประเมินทุกระดับจะสะท้อนทั้งความรูความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน (Competency)

การปฏิบัติด้วยความเข้าใจ (Execution with Know Why) ประสิทธิผลของการดำเนินการและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Effectiveness and Continuous Improvement) นอกจากนี้หน่วยงานส่วนกลางของแต่ละธุรกิจและเอสซีจีจะเข้ามามีส่วนร่วมให้คำปรึกษาระบุข้อบกพร่อง ยกระดับเพื่อโอกาสในการปรับปรุงต่อไป


การประเมินและรับรองตนเองนี้จะสร้างความตระหนักให้บริษัทได้ทบทวนสมรรถนะด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตาม SCG Safety Framework และแสดงความมุ่งมั่นที่จะก้าวไปสู่ระดับประสิทธิผลของการดำเนินงานที่สูงขึ้น
การวัดผลการตรวจประเมินนอกจากจะวัดผลด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ของระบบแล้วยังพิจารณาอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต และอัตราการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นสูญเสียวันทำงาน เริ่มจากระดับแรก Awareness สำหรับบริษัทที่ยังมีอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต ระดับ Standard เมื่ออุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตเป็นศูนย์ แต่ยังมีอุบัติเหตุถึงขั้นสูญเสียวันทำงานมากกว่าเป้าหมายที่กำหนด ระดับ Advance เมื่ออุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตเป็นศูนย์ และมีอุบัติเหตุถึงขั้นสูญเสียวันทำงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนด และระดับสูงสุดคือ Excellence เมื่ออุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตและอุบัติเหตุถึงขั้นสูญเสียวันทำงานเท่ากับศูนย์ด้วยระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เข้มแข็ง เป็นมืออาชีพ จะช่วยให้ทุกบริษัทในเอสซีจีและคู่ธุรกิจเป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมความปลอดภัยและบรรลุเป้าหมายการปราศจากการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยจากการทำงาน (Injury and Illness Free) อย่างยั่งยืน

ผู้บริหารและวัฒนธรรมความปลอดภัย
Feel with Care กล้าที่จะเตือนกันและกัน


เพื่อให้ทุกคนเห็นว่าเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นคุณค่าสำคัญ ผู้บริหารจึงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมให้พนักงานและคู่ธุรกิจทุกคนมีวินัยการทำงาน มีพฤติกรรมการปฏิบัติงาน และดูแลผู้อื่นให้ปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยด้วย


เอสซีจีจึงเน้นเรื่อง “การสังเกตการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย” หรือ Safety Observation โดยพนักงานทุกระดับ
ต้องเห็นความสำคัญของการสังเกตการปฏิบัติงานของเพื่อนร่วมงาน รู้ว่าต้องทำอย่างไร และกล้าที่จะเตือนเพื่อนร่วมงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยผู้บริหารหรือหัวหน้างานต้องเป็นผู้นำในการสังเกตการปฏิบัติงานให้เห็นเป็นตัวอย่างผ่านการทำ Leader Standard Work ที่ครอบคลุมทั้งการให้คำแนะนำ (Coaching) การเดินสำรวจงาน (Line Walk) การติดตามผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยด้วย Visual Board


ผู้บริหารต้องใช้เวลาสังเกตการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอแสดงความห่วงใยและให้คำแนะนำเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพนักงานและคู่ธุรกิจเมื่อพบการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ให้รางวัลหรือแสดงความชื่นชมกับพนักงานและคู่ธุรกิจที่ปฏิบัติได้อย่างปลอดภัย เพื่อให้ทุกคนสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยตนเอง

วัฒนธรรมความปลอดภัยที่ทุกคนในองค์กร “เชื่อ” และ“แสดงออก” เหมือนๆ กัน อาจเกิดขึ้นไม่ง่าย แต่ด้วยระบบการจัดการที่มีการจัดโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบชัดเจน พนักงานและคู่ธุรกิจทุกคนทุกระดับเข้าใจถึงความเสี่ยงของงานและตระหนักถึงผลกระทบจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ

เมื่อพนักงานและคู่ธุรกิจทุกคนดูแลตัวเองได้ และดูแลเพื่อนร่วมงานได้ เราจึงจะมั่นใจได้ว่าจะบรรลุเป้าหมายอุบัติเหตุ
เป็นศูนย์

พัฒนามาตรฐานการเดินทางและขนส่งปลอดภัย ตามแผนระยะกลางอย่างจริงจัง

“ก้าวสู่ผู้นำด้านการเดินทางและขนส่งปลอดภัยของอาเซียน” คือความมุ่งมั่นสูงสุดของเอสซีจี ซึ่งตั้งอยู่บนเป้าหมาย “อุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตด้านการเดินทางและขนส่งต้องเป็นศูนย์”
เอสซีจีกำหนดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง ที่มีหน้าที่กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ เป้าหมายแผนงานระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และตัวชี้วัดเพื่อผลักดันให้เกิดมาตรฐานการปฏิบัติงานในการใช้ยานพาหนะอย่างปลอดภัย
ในระยะระหว่างปี 2563 ถึง 2567 นับเป็นช่วงการดำเนินการตามแผนระยะกลาง (Medium Term Plan) โดยก่อนหน้านี้ในปี 2562 เอสซีจีได้ดำเนินการวางพื้นฐานสำคัญไว้หลายอย่างเช่น การกำหนดมาตรฐาน Goods Transportation Safety ที่ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันของทุกธุรกิจ และให้แต่ละธุรกิจนนำไปปรับใช้กับคู่ธุรกิจขนส่ง โดยส่งเสริมให้คู่ธุรกิจขนส่งสามารถกำกับดูแลความปลอดภัยด้วยตนเอง

นอกจากนี้เอสซีจียังได้ติดตั้งกล้องสองด้านในรถบรรทุกทุกคันแล้ว 100% ซึ่งรถทุกคันได้รับการติดตามตลอด 24 ชั่วโมงโดยศูนย์ควบคุมและติดตามพนักงานขับรถ(Logistic Command Center, LCC) ของ เอสซีจี โลจิสติกส์ที่ตรวจสังเกตพฤติกรรมเสี่ยงและแจ้งเตือนไปยังคนขับด้วยระบบ AI นอกจากนี้ในปี 2563 ยังมีการเริ่มนำแอปพลิเคชัน Kubdee ตรวจจับลักษณะใบหน้าและดวงตาของพนักงานขับรถที่บ่งบอกอาการง่วงหรือหลับในล่วงหน้าด้วย

ปี 2563 เอสซีจีอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ AdvanceDriver Assistance System (ADAS) ช่วยควบคุมระยะห่าง
ที่ปลอดภัยระหว่างรถ เช่น แจ้งเตือนการชน ขับรถกระชั้นชิดการออกนอกเลน และ Driver Monitoring System (DMS) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพนักงานขับรถให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด รวมทั้งจัดทำการตรวจประเมินคู่ธุรกิจขนส่งตามมาตรฐาน Goods Transportation Safety ให้ครบ 100% และพัฒนาคู่ธุรกิจขนส่งโดยกกำหนดเกณฑ์ผ่านการประเมินที่ระดับคะแนน 85%

นอกจากนี้เอสซีจีจัดทำโครงการ SCG Transportation Safety : Sustainability Program พัฒนาคู่ธุรกิจขนส่งจำนวน 7 รายให้เป็นคู่ธุรกิจขนส่งต้นแบบ หรือ Model Carriers เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่คู่ธุรกิจขนส่งรายอื่นๆ โดยเริ่มจากการสื่อสารให้ผู้บริหารของคู่ธุรกิจขนส่งเข้าใจและให้ความสำคัญกับการเป็นผู้นำด้านความปลอดภัย เข้าใจวัฒนธรรมองค์กรและสามารถทำให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานอย่างปลอดภัย เข้าใจและสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนด
โครงการนี้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 และจะขยายผลโครงการ SCG Transportation Safety :
Sustainability Program ไปยังคู่ธุรกิจขนส่งที่เป็น Strategic Carriers ทั้งหมด
นอกจากนี้ตามแผนระยะกลาง เอสซีจียังดำเนินการอีกมากมาย เช่น การนำมาตรฐาน Goods Transportation
Safety ไปประยุกต์ใช้กับบริษัทต่างประเทศที่เอสซีจีเข้าไปดำเนินธุรกิจ การเพิ่มความเข้มข้นในการสอบสวนและการวิเคราะห์อุบัติเหตุ การนำนวัตกรรมต่างๆ เช่น การทดลองใช้งานระบบ G7 ซึ่งเป็นระบบ Telematics ในรถบรรทุกกลุ่มทดลองของเอสซีจี โลจิสติกส์ ฯลฯ
ในส่วนของการเดินทาง นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของกฎพิทักษ์ชีวิตแล้ว เอสซีจียังได้ก􀀏ำหนดมาตรฐาน Road Safety
ที่ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันของทุกธุรกิจ จึงทำให้อุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตจากการใช้ยานพาหนะอันเนื่องมาจากการทำงานเป็นศูนย์

เอสซีจีเชื่อมั่นว่าความพยายามปรับปรุงและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านความปลอดภัยด้วยความห่วงใยในทุกชีวิต ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายในอนาคตอันใกล้นี้