เอสซีจีนำความยั่งยืน สู่ประเทศในอาเซียน

เอสซีจีเริ่มเข้าไปดำเนินธุรกิจในอาเซียน เริ่มต้นจากประเทศเวียดนามตั้งแต่ปี 2535 อินโดนีเซีย
ตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปัจจุบันทุกกลุ่มธุรกิจของเอสซีจี ทั้งธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างธุรกิจเคมิคอลส์ และธุรกิจแพคเกจจิ้ง ได้เข้าไปดำเนินงานในประเทศต่างๆ ได้แก่ เวียดนามอินโดนีเซีย กัมพูชา ฟิลิปปินส์ ลาว เมียนมาร์
สิงคโปร์ และมาเลเซีย

เอสซีจีให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงาน และการเดินทางและขนส่งอย่างต่อเนื่องโดยการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทั่วทั้งองค์กร ด้วยระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของเอสซีจี (SCGSafety Framework) และกำกับดูแลด้วยการตรวจประเมินประสิทธิผลด้านความปลอดภัย (SPAP) รวมถึงการใช้กฎพิทักษ์ชีวิต (Life Saving Rules) เช่นเดียวกับมาตรการที่ปฏิบัติในประเทศไทย


นอกจากนี้ยังกำกับดูแลมาตรฐานการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงานต่างๆ อย่างเข้มงวด ตรวจสอบและปรับปรุงอุปกรณ์และกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ควบคุมการปล่อยมลพิษฝุ่น น้ำเสีย ให้ได้ค่าไม่เกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เพื่อมิให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนรอบโรงงาน รวมทั้งปรับปรุงพื้นที่สีเขียวเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีแก่ทั้งภายในโรงงานและนอกโรงงาน ทำให้โรงงานของเอสซีจีไม่มีรายงานการร้องเรียนใดๆ

ตลอดเวลาของการดำเนินงานในต่างประเทศ เอสซีจีได้น􀀏ำอุดมการณ์ของเอสซีจี “ตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม” ปลูกฝังให้พนักงานทุกคนยืดถือและปฏิบัติตาม พร้อมกับพัฒนาศักยภาพของพนักงานท้องถิ่นด้วยมาตรฐานเดียวกันกับพนักงานในประเทศ และมุ่งมั่นดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม โดยน􀀏ำมาตรฐานการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานที่ดีในประเทศไทยไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมในแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะในประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญ 3 ประเด็นคือ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจหมุนเวียน สุขภาพและความปลอดภัย เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่ทุกประเทศที่เอสซีจีเข้าไปดำเนินงาน

ความช่วยเหลือในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ปี 2563

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ได้จัดเวลาพูดคุยสื่อสารกับพนักงานในประเทศอาเซียนเช่นเดียวกับที่ปฏิบัติในประเทศไทยเพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักให้พนักงานรับมือกับ
สถานการณ์และความเปลี่ยนแปลง ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ด้วยความห่วงใยในสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานท้องถิ่นทุกคนในประเทศเวียดนาม เอสซีจียังได้มอบอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากอนามัย เจลฆ่าเชื้อโรค ฯลฯ และนวัตกรรมทางการแพทย์ของเอสซีจี เช่นห้องตรวจเชื้อความดันบวกแบบเคลื่อนที่แก่หน่วยงานรัฐและชุมชนรอบโรงงานเพื่อป้องกันการติดเชื้อรวมเป็นเงินสนับสนุนกว่า 3,500 ล้านดง

ส่วนการระบาดของโควิด 19 ในประเทศอินโดนีเซียค่อนข้างมีความรุนแรง โดยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน เอสซีจีได้ร่วมมือกับรัฐบาลอินโดนีเซียจัดทำโครงการ CareTogetherบริจาคห้องตรวจเชื้อความดันบวกมากกว่า 50 ยูนิต ให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งบริจาคหน้ากากอนามัยและชุด PPE แก่บุคลากรทางการแพทย์ด้วย รวมเป็นเงินกว่า 1 ล้านรูเปียห์อินโดนีเซีย

การดูแลพนักงาน สิ่งแวดล้อม และสังคมในเวียดนาม

เอสซีจีได้รับการยอมรับจากประเทศเวียดนามว่าเป็นบริษัทระดับสากลที่เข้าไปดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
และรับผิดชอบต่อสังคม เอสซีจีเชื่อมั่นในคุณค่าของคนมอบสวัสดิการที่ดี และอบรมพัฒนาทักษะความสามารถของ
พนักงานในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการเป็นผู้นำและการบริหารจัดการ การคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร ฯลฯ เพื่อยกระดับพนักงานให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจทำให้พนักงานท้องถิ่นมีความผูกพันกับองค์กรสูงและมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเอสซีจี

เอสซีจีส่งเสริมให้โรงงานต่างๆ จัดทำโครงการตามกลยุทธ์การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น โครงการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารหรือโซลาร์รูฟทอป โครงการปรับปรุงอุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โครงการผลิตไฟฟ้าจากความร้อนเหลือทิ้ง การนำเถ้าลอยมาใช้ทดแทนปูนเม็ดในการผลิตปูนซีเมนต์ การใช้ยิปซัมสังเคราะห์ซึ่งเป็นของเสียจากโรงไฟฟ้ามาทดแทนยิปซัมธรรมชาติ การนำกระดาษใช้แล้วกลับมารีไซเคิลผลิตกระดาษใหม่ ฯลฯ


ในปี 2563 เอสซีจีดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนและสังคมในหลากหลายด้าน ที่สำคัญ เช่น


• SCG Sharing the Dream Scholarship จัดทำโครงการมาตั้งแต่ปี 2550 สนับสนุนทุนการศึกษาแก่เยาวชนระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา รวมทั้งหมดถึงปัจจุบัน 4,300 ทุน รวมเป็นเงินสนับสนุนกว่า 1,239,000 ดอลลาร์สหรัฐ


• SCG Outdoor Gym Project 2020 ร่วมกับภาครัฐจัดสร้างสนามกีฬามาตรฐานกลางแจ้ง พร้อมอุปกรณ์การออกกำลังกาย ในเมืองด่องเฮย จังหวัดกวางบินห์ เพื่อปรับปรุงพื้นที่สาธารณะให้มีความสวยงามและส่งเสริมสุขภาพของคนทุกวัยในชุมชน รวมทั้งเอสซีจีได้สนับสนุนปูนซีเมนต์กว่า 17 ตันในการก่อสร้างด้วย นับเป็นโครงการต้นแบบที่เอสซีจีจะน􀀏ำไปขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป


• โครงการต้นแบบคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เอสซีจีสร้างความร่วมมือกับบริษัทยูนิลีเวอร์ บริษัทดาวเคมิคอล และ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเวียดนาม จัดทำโครงการต้นแบบคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางกับโรงเรียนประถมศึกษา Long Son ให้นักเรียนกว่า 1,300 คนเรียนรู้การคัดแยกขยะ และจะขยายผลสู่ครู ผู้ปกครอง และชุมชนโดยรอบ ให้รู้จักการคัดแยกขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่ต้องก􀀏ำจัดและเพิ่มการรีไซเคิลขยะให้เกิดประโยชน์และคุณค่าใหม่ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน


• ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติในปี 2563 เอสซีจีมอบถุงยังชีพกว่า 3,000 ถุง และเงินช่วยเหลือกว่า 4,200 ล้านดง แก่ผู้ประสบภัยจากน้ำท่วมอย่างหนักที่ภาคกลางของเวียดนาม รวมทั้งพนักงานได้เข้าไปช่วยฟื้นฟูซ่อมแซมบ้านเรือนของชุมชน และมอบปูนซีเมนต์กว่า 400 ตัน สนับสนุนการก่อสร้าง

การขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในอินโดนีเซีย

เอสซีจีมุ่งมั่นสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นจากประชาชนในประเทศอินโดนีเซีย ด้วยการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลอินโดนีเซียที่ต้องการลดปริมาณขยะในทะเลลง 70% ให้สำเร็จ ในปี 2568ทำให้ในปี 2563 เอสซีจีได้รับรางวัล Indonesia’s Best Corporate Sustainability Initiatives 2020 – The Best Circular Economy องค์กรดีเด่นผู้ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนจากนิตยสารการตลาดใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซียคือ MIX Marketing Communications Magazine

เอสซีจีจัดทำโครงการขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในโรงงานมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การนำน้ำคอนเดนเสตกลับมาใช้ใหม่ การนำผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านคุณภาพกลับมารีไซเคิลเป็นวัตถุดิบทดแทน ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวบรวมกระดาษที่ใช้แล้วจากชุมชนกลับมารีไซเคิลผลิตกระดาษใหม่ รวมทั้งส่งเสริมโครงการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงงานต่างๆ ตามกลยุทธ์การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


ปี 2563 เอสซีจีขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านกิจกรรมที่โดดเด่น เช่น


• SCG SD Symposium Indonesia 2020 – “Circular Economy : Collaboration for Action” เอสซีจีจัดงานประชุมสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาช่วยแก้ไขปัญหาการจัดการขยะ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเอสซีจีได้แบ่งปันโครงการตัวอย่าง เช่น โครงการถนนยางมะตอยและขยะพลาสติก (Plastic Asphalt Road) โครงการบ้านปลาจากเม็ดพลาสติกของเอสซีจี นวัตกรรม Zyclonic ระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย ฯลฯ ซึ่งได้รับความสนใจจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของอินโดนีเซียในการนำไปขยายผลต่อในอนาคต


• เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ The National Plastic Action Partnership (NPAP) เครือข่ายความร่วมมือ
ขององค์กรระดับสากลและระดับประเทศในอินโดนีเซีย ซึ่งตั้งเป้าหมายให้อินโดนีเซียปลอดขยะพลาสติกและมลพิษ สนับสนุนโดย World Economic Forum (WEF) และ Global Plastic Action Partnership (GPAP)

เข้าร่วม IP2WM – Indonesia Partnership on Plastics Waste Management เครือข่ายความร่วมมือระดับประเทศระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคเอ็นจีโอและภาควิชาการ เพื่อจัดการกับปัญหาขยะพลาสติกในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งในปี 2563 ได้ประเมินและคัดเลือกพื้นที่นำร่องในการจัดทำโครงการต้นแบบการบริหารจัดการขยะ และมีแผนจะเริ่มดำเนินโครงการในปี 2564

นอกจากนี้ในการพัฒนาชุมชนและสังคมเอสซีจียังได้นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาบูรณาการ เช่น
• SCG Sharing the Dream Scholarship จัดทำโครงการมาตั้งแต่ปี 2557 สนับสนุนทุนการศึกษาแก่เยาวชน
ระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา รวมทั้งหมดถึงปัจจุบัน 2,700 ทุนโดยในปี 2563 โครงการ Sharing the Dream Scholarshipในอินโดนีเซีย ได้รับรางวัล Top CSR Awards จากนิตยสารTop Business Magazine ทั้งนี้เยาวชนที่ต้องการได้รับทุนการศึกษาจะต้องเขียนบทความเกี่ยวกับการน􀀏ำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน

• นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนไปใช้ในชุมชน เอสซีจีร่วมกับนักเรียนทุนโครงการ SCG Sharing the Dream และ
ชุมชน Soreang Bandung จัดทำโครงการนำเศษผ้าเหลือจากโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งปกติชุมชนจะนำไปเผาทิ้ง นำมาสร้างมูลค่าเพิ่มโดยทำเป็นกระเป๋าผ้า เครื่องประดับ ฯลฯ ช่วยสร้างงานและรายได้ส่วนเพิ่มให้ชุมชน รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่องการน􀀏ำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนไปใช้จริง


• ส่งเสริมเยาวชนนักกีฬากอล์ฟ สร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนนักกีฬากอล์ฟกว่า 40 คนให้ได้พบกับ เอรียา และ
โมรียา จุฑานุกาล สองพี่น้องนักกีฬากอล์ฟอาชีพจากประเทศไทยพร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะในชีวิตประจำวันตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน