เอสซีจีมุ่งมั่นเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างว่องไวโดยสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ขยายการลงทุนในสตาร์ทอัพและโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ในระดับโลก เพื่อนำองค์ความรู้จากภายนอกมาต่อยอดการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ภายในเอสซีจีได้อย่างรวดเร็ว พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำความเปลี่ยนแปลง 

หนึ่งในปัจจัยสำคัญของการส่งมอบ “สิ่งที่ดีกว่า” ของเอสซีจี คือการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนให้ทุกองคาพยพขององค์กรรับมือและตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงและวิกฤตต่างๆ ได้อย่างว่องไว สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ ส่งมอบสินค้า บริการ และโซลูชัน ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีแก่สังคมได้อย่างทันท่วงที พร้อมกับดูแลสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน โดยยึดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นแนวทางสำคัญ 

เอสซีจีดำเนินนโยบาย Digital Transformation โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน และส่งเสริมวัฒนธรรมที่พนักงานมีส่วนร่วมเป็นพลังสร้างสรรค์นวัตกรรม พร้อมเปิดรับนวัตกรรมจากภายนอกเพื่อเร่งขีดความสามารถในการพัฒนาให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงผ่านการสร้างความร่วมมือ กับหน่วยงานและสถาบันวิจัยต่างๆ รวมทั้งขยายการลงทุนในสตาร์ทอัพและโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ในระดับโลก เพื่อนำ องค์ความรู้จากภายนอกมาปรับใช้ภายในเอสซีจีได้อย่างรวดเร็ว ช่วยขับเคลื่อนเอสซีจีสู่ผู้นำ ด้านนวัตกรรมและส่งมอบ “สิ่งที่ดีกว่า” แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างยั่งยืน 

เป้าหมาย 

  • รายได้จากการขายสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง เป็น 50% จากรายได้การขายรวม 

กลยุทธ์ 

  • นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การขนส่ง และการให้บริการลูกค้า 
  • ขยายการลงทุนในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ด้วยกระบวนการและเครื่องมือใหม่ 
  • มุ่งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกและสถาบันวิจัยต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ 
  • ส่งเสริมวัฒนธรรมนวัตกรรมที่มีพนักงานเป็นพลังสร้างสรรค์ธุรกิจรูปแบบใหม่ 
  • ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาขับเคลื่อนนวัตกรรมและโมเดลธุรกิจใหม่ 

การบริหารจัดการ 

  1. คณะกรรมการนวัตกรรม (SCG Innovation Committee) กำหนดทิศทางด้านนวัตกรรมและส่งเสริมวัฒนธรรมนวัตกรรมและเทคโนโลยี 
  2. พัฒนากระบวนการสร้างนวัตกรรมด้วยแนวคิด Innovation Management System 

ผลการดำเนินงานปี 2564 

โครงการที่สำคัญ 

AddVentures ในสถานการณ์โควิด 19 

  • AddVentures by SCG หน่วยงานCorporate Venture Capital Arm ที่เน้นการลงทุนในสตาร์ทอัพกลุ่มเทคโนโลยีที่สามารถปรับใช้กับกลุ่มธุรกิจหลักของเอสซีจีเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ โดยลงทุนทั้งใน กองทุนและสตาร์ทอัพในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย จีน และสหรัฐอเมริกา ปี 2564 ลงทุน ใน Bizongo สตาร์ทอัพ B2B (Business to Business) Market Platform ชั้นนำในประเทศอินเดียและสร้าง ความร่วมมือกับสตาร์ทอัพโดยทำกิจการร่วมค้ากับ Validus ภายใต้ชื่อ Siam Validus ให้บริการกู้ยืมเงิน P2P Lending Platform สำหรับ SME ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ทำให้การเดินทางติดต่อกับสตาร์ทอัพ ในต่างประเทศลดลงส่งผลกระทบต่อกระบวนการลงทุน AddVentures จึงปรับกลยุทธ์โดยเน้นการพูดคุยกับสตาร์ทอัพเพื่อศึกษาโอกาสการลงทุน และสร้างความสัมพันธ์กับสตาร์ทอัพผ่าน VC Funds และเครือข่ายที่มี อยู่แล้ว 

โครงการ Ignitor เร่งการเชื่อมต่อเอสซีจีกับสตาร์ทอัพ 

  • One-Stop-Service ของการค้นหานวัตกรรมจากภายนอกเพื่อนนำมาช่วยแก้ปัญหาของหน่วยงานภายในเอสซีจีที่มีมากกว่า 300 บริษัท โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านพลังงาน AI Machine Learning Computer Vision และ Hyper Automation โดยหลังจากโครงการฯ นำนวัตกรรมจากภายนอกมาใช้ พบว่าสามารถลดระยะเวลาในขั้นตอน Proof-of-Concept เมื่อเทียบกับการพัฒนาจากภายในเอสซีจีได้ถึง 50% ช่วยเร่งความเร็วของการพัฒนานวัตกรรมจากระยะเวลากว่า 1 ปีให้อยู่ภายในเวลาไม่ถึง 1 ปี ตัวอย่างโครงการที่ประสบความสำเร็จ เช่น การนำเทคโนโลยีดิจิทัล AI Machine Learning มาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์ พลังงานแสงอาทิตย์ ระบบ Hyper Automation เช่น Workflow Automation Virtual Assistant มาใช้จัดการทรัพยากรและติดตามขั้นตอนการทำงาน การนำระบบ Telemedicine มาดูแลพนักงานทั้งในประเทศและต่างประเทศให้เข้าถึงการรักษาจากแพทย์ในช่วงสถานการณ์โรคระบาด 

Internal Startup HATCH-WALK-FLY 

  • Internal Startup HATCH-WALK-FLY 
    • เอสซีจีมุ่งพัฒนาพนักงานให้กล้าคิด กล้าทำและมีความคิดแบบผู้ประกอบการนำหลักการทำงานของสตาร์ทอัพมาปรับใช้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการมองหาธุรกิจใหม่ โครงการ Internal Startup ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ HATCH ค้นหาปัญหาและความต้องการของลูกค้า WALK พัฒนาทดลองและทดสอบวิธีแก้ปัญหา รวมถึงความเป็นไปได้ของตลาด FLY เพิ่มฐานลูกค้าขยายผลธุรกิจให้เติบโต ปี 2564 มีสตาร์ทอัพเข้าสู่ระยะ FLY ทั้งสิ้นแล้วจำนวน 8 ทีม เช่น Roots แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าอุตสาหกรรม Rudy ระบบบริหารลูกค้าและติดตามการขายสำหรับร้านวัสดุก่อสร้าง DezpaX แพลตฟอร์มบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มดิลิเวอรี NaYoo แพลตฟอร์มการเช่า-ซื้อที่อยู่อาศัย Urbanice แพลตฟอร์มการบริหารจัดการการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียม ZUPPORTS ระบบบริหารการขนส่ง (Freight) เพื่อการน เข้า-ส่งออกระหว่างประเทศ ฯลฯ