ประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญ


เอสซีจีทบทวนประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญทุกปี ผ่านคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี โดยพิจารณาทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน

กระบวนการประเมินประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญ

อ้างอิงตามกรอบการรายงานความยั่งยืนสากล Global Reporting Initiatives (GRI) ฉบับ GRI Standards

1


วิเคราะห์สภาพแวดล้อมและบริบทองค์กร

• วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ (Megatrends) ที่อาจส่งผลกระทบตลอดห่วงโซ่คุณค่า
• ทบทวนประเด็น ESG ของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยการเข้าร่วมการประเมิน ESG จากผู้ประเมินชั้นนำ เช่น
Sustainalytics, CDP, MSCI, FTSE4Good และ S&P Global CSA
• รับฟังประเด็น ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียผ่านช่องทางต่างๆ
• แลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองเชิงกลยุทธ์ผ่านการสร้างความร่วมมือร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันและขับ
เคลื่อนประเด็นความยั่งยืน เช่น World Economic Forum (WEF)

2


ระบุความเสี่ยงและโอกาสด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่คุณค่า

• พิจารณาทั้งผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อองค์กร และผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมภายนอก ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ตามแนวทางที่เกี่ยวข้อง เช่น ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามแนวทางของ Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD)

3


ประเมินความสำคัญของผลกระทบ

• ระดมความคิดเห็น รวมถึงข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อเข้าใจผลกระทบของความท้าทายที่เป็นสาระสำคัญและครอบคลุมทุกมิติ
• รวบรวมข้อเสนอแนะการขับเคลื่อนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อประเมินผลกระทบจากผู้มีส่วนได้เสียภายนอก ผ่านการสัมมนาในวงประชุมเตรียมการ (Pre-session) สำหรับงาน ESG Symposium 2567
• ประเมินและคัดกรองประเด็นด้านความยั่งยืนทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
• บูรณาการการประเมินในกระบวนการบริหารความเสี่ยงองค์กร เพื่อกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงและผลกระทบอย่างเป็นระบบ

4


กำหนดและนำเสนอประเด็นสำคัญ

• กำหนดประเด็นที่มีความสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงองค์กรและกลยุทธ์ทางธุรกิจ
• นำเสนอประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนต่อคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และกำหนดให้นำไปจัดทำแผนกลยุทธ์ธุรกิจ พร้อมทั้งกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ผนวกกับเป้าหมายความสำเร็จด้าน ESG สำหรับกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหารระดับสูง ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
• เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเสริมสร้างความโปร่งใสและความเข้าใจ

ผลการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

การระบุความเสี่ยงและโอกาสด้านความยั่งยืน

1. ความเสี่ยงสำคัญที่โลกจะต้องเผชิญ
- สถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ความขัดแย้งทางการค้า สงคราม และมาตรการกีดกันทางเศรษฐกิจ อาจเพิ่มต้นทุนการผลิตและข้อจำกัดทางการค้า
- ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและเสื่อมสภาพของระบบนิเวศ ภัยพิบัติทางความรุนแรง การปรับตัวด้านพลังงานและตลาดคาร์บอน
- การพัฒนาเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญญาประดิษฐ์ (AI) สร้างโอกาสในการแข่งขัน แต่ก่อเกิดความท้าทายด้านการพัฒนาทักษะแรงงาน ความเป็นส่วนตัว และความมั่นคงทางข้อมูล
- การเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงทางสังคม ความเหลื่อมล้ำ สิทธิแรงงาน และการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสูงวัยเป็นปัจจัยที่จำเป็นต้องคำนึงถึงการอย่างเป็นธรรมและครอบคลุม

2. ความเสี่ยงและโอกาสด้านความยั่งยืน

ผลกระทบจากปัจจัยภายนอก

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน (Transition Risk)
- ด้านนโยบาย: การปรับตัวตามกฎหมายและมาตรฐาน เช่น พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาษีคาร์บอน ระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของหลายประเทศทั่วโลก
- ด้านเทคโนโลยี:การพัฒนาเทคโนโลยีลดก๊าซเรือนกระจก เช่น วัสดุทดแทนปูนเม็ด การศึกษาการดูดกลับและกักเก็บคาร์บอน
- ด้านตลาด:การพัฒนาสินค้าคาร์บอนต่ำ การผลักดันมาตรฐานการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน ตลอดจนการสร้างระบบนิเวศรองรับสินค้าคาร์บอนต่ำ

ความเสี่ยงด้านกายภาพ (Physical Risk)
จากการประเมินความเสี่ยงด้านกายภาพตาม Shared Socio-economic Pathway: SSP ใน Scenario ต่างๆ พบว่าพื้นที่ที่เป็นฐานการผลิตของไทยจะได้รับผลกระทบที่สำคัญทั้งจากเหตุการณ์สุดขั้วและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว เช่น สภาพอากาศร้อนจัด น้ำท่วม และการขาดแคลนน้ำ

ผลกระทบจากการดำเนินงานของเอสซีจี ที่ส่งผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- ผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
- คุณภาพอากาศ
- การจัดการพลังงาน
- การจัดการน้ำ
- การจัดการของเสีย
- การดูแลชุมชนสุขภาพและความปลอดภัย

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน 2567

Net Zero 2050

การเปลี่ยนผ่านพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่พลังงานสะอาด และเป็นผู้นำปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ มุ่งเดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยมีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อมุ่งสู่ Net Zero

Nature Positive

เพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของการดำเนินงาน (Operation Eco-Efficiency) โดยการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียน และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การฟื้นฟูทรัพยากรน้ำ การฟื้นฟูป่าและระบบนิเวศ รวมถึงการปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงทางกายภาพ

Inclusive Society

ส่งเสริมความปลอดภัยและสุขภาวะที่ดี สิทธิมนุษยชน ความหลากหลาย ความเสมอภาค และการมีส่วนร่วม (Human Rights, Diversity, Equity, and Inclusion, DEI) และการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำที่เป็นธรรมและการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน