ประเด็นด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน


เอสซีจีทบทวนประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญทุกปี ผ่านคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี โดยพิจารณาทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน

กระบวนการประเมิน และจัดลำดับความสำคัญ ประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน

อ้างอิงตามกรอบการรายงานความยั่งยืนสากล Global Reporting Initiatives (GRI) ฉบับ GRI Standards

1


วิเคราะห์ประเด็นความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่าครอบคลุมตั้งแต่กิจกรรมการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่งและจัดจ􀁤ำหน่าย การใช้สินค้าและบริการ ประกอบกับการวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

2


วิเคราะห์ประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญผ่านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสำรวจความคิดเห็น
การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น

3


วิเคราะห์ความสอดคล้องกับกรอบบริหารความเสี่ยงองค์กร

4


ประเมินและจัดลำดับความสำคัญทั้งในมิติของความสำคัญต่อเอสซีจีและความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสีย และกำหนดประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การประเมินประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญ ปี 2565

เอสซีจีทบทวนประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญทุกปี ผ่านคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี โดยพิจารณาทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก ได้แก่ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทั้งในระดับโลกระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ เกณฑ์การประเมิน ESG จากผู้ประเมินชั้นนำและประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเดียวกัน ปัจจัยภายใน ได้แก่ ผลกระทบต่อการดำเนินงานและเป้าหมายด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากความเสี่ยงและโอกาสที่อาจเกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่คุณค่า

ประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญของเอสซีจี

รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้ง ทางด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการ เพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อสภาวการณ์ ที่จะเปลี่ยนแปลงไป

เศรษฐกิจหมุนเวียน

การผลิตสินค้า พัฒนาบริการและโซลูชัน โดยใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และทำให้เกิดการหมุนเวียนในระบบอย่างยั่งยืน

สุขภาพและความปลอดภัย

การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานคู่ธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสียที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม